| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 184 ท่าน 
FreeSplanS MENU
L i n k E x c h a n g e

Link to us!!!
Link to US!!!



 

Building Laws

 

กลับสู่หน้า กฏหมายควบคุมอาคาร กฏหมายควบคุมอาคาร

กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) เรื่อง อาคารสูง ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

| กฏหมายอาคารสูง1 | กฏหมายอาคารสูง2 | กฏหมายอาคารสูง3 | กฏหมายอาคารสูง4 |
| กฏหมายอาคารสูง5 |
 

     บางส่วนของกฎหมายถูกยกเลิก / แก้ไข / เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 42 , 50 ซึ่ง  ได้แทรกไว้ในที่นี้แล้ว

  • หมวด 3 ระบบบำบัดน้ำเสียและการระบายน้ำทิ้ง
    ข้อ 30
        การออกแบบ และ การคำนวณ รายการ ระบบบำบัดน้ำเสีย และ การระบายน้ำทิ้ง ของอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องดำเนินการ โดยผู้ได้รับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม ตั้งแต่ประเภท สามัญวิศวกร ขึ้นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพ วิศวกรรม
    ข้อ 31
        การระบายน้ำฝน ออกจากอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ จะระบายลงสู่ แหล่งรองรับน้ำทิ้ง โดยตรงก็ได้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิด ภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือ ทรัพย์สิน หรือ กระทบกระเทือน ต่อการรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม
    ข้อ 32
        ระบบบำบัดน้ำเสีย จะแยกเป็น ระบบอิสระ เฉพาะอาคาร หรือ เป็นระบบรวม ของส่วนกลางก็ได้ แต่ต้อง ไม่ก่อให้เกิดเสียง กลิ่น ฟอง กาก หรือ สิ่งอื่นใด ที่เกิดจากการบำบัด นั้นจนถึงขนาด ที่อาจเกิดภยันตราย ต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือ ทรัพย์สิน กระทบกระเทือน ต่อการรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือ ความเดือดร้อนรำคาญ แก่ประชาชน ผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
    ข้อ 33
        น้ำเสีย ต้องผ่าน ระบบบำบัดน้ำเสีย จนเป็นน้ำทิ้ง ก่อนระบายสู่ แหล่งรองรับน้ำทิ้ง โดยคุณภาพน้ำทิ้ง ให้เป็นไปตาม ประกาศสำนักงาน คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อม แห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐาน คุณภาพน้ำทิ้ง จากอาคาร
    ข้อ 34
        ทางระบายน้ำทิ้ง ต้องมีลักษณะ ที่สามารถตรวจสอบ และ ทำความสะอาด ได้โดยสะดวก ในกรณี ที่ทางระบายน้ำ แบบท่อปิด ต้องมีบ่อ สำหรับตรวจ การระบายน้ำ ทุกระยะ ไม่เกิน 8.00 เมตร และ ทุกมุมเลี้ยวด้วย
    ข้อ 35
        ในกรณีที่ แหล่งรองรับน้ำทิ้ง มีขนาดไม่เพียงพอ จะรองรับน้ำทิ้ง ที่ระบาย จากอาคาร ในชั่วโมง การใช้น้ำสูงสุด ให้มีที่พักน้ำทิ้ง เพื่อรองรับ ปริมาณน้ำทิ้ง ที่เกินกว่า แหล่งรองรับน้ำทิ้ง จะรับได้ ก่อนที่จะ ระบายสู่ แหล่งรองรับน้ำทิ้ง

  • หมวด 4 ระบบประปา
    ข้อ 36
        อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมี ที่เก็บน้ำใช้สำรอง ที่สามารถ จ่ายน้ำ ในชั่วโมง การใช้น้ำสูงสุด ได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง และ ต้องมี ระบบท่อจ่ายน้ำประปา ที่มีแรงดันน้ำ ในท่อจ่ายน้ำ และ ปริมาณน้ำประปา ดังต่อไปนี้
         (1) แรงดันน้ำ ในระบบ ท่อจ่ายน้ำ ที่จุดน้ำเข้าเครื่องสุขภัณฑ์ ต้องมีแรงดัน ในชั่วโมง การใช้น้ำสูงสุด ไม่น้อยกว่า 0.1 เมกะปาสกาลมาตร
         (2) ปริมาณการใช้น้ำ สำหรับจ่าย ให้แก่ผู้ใช้น้ำ ทั้งอาคาร สำหรับประเภทเครื่องสุขภัณฑ์ แต่ละชนิด ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

  • ประเภท
     เครื่องสุขภัณฑ์ 
    ชนิดของเครื่องควบคุม  จำนวนสุขภัณฑ์ 
    (ส่วนบุคคล)
     จำนวนสุขภัณฑ์ 
    (สาธารณะ)
     ส้วม  ประตูน้ำล้าง(FLUSH VALVE) 6 10
     ส้วม  ถังน้ำล้าง(FLUSH TANK) 3 5
     ที่ปัสสาวะ  ประตูน้ำล้าง(FLUSH VALVE) 5 10
     ที่ปัสสาวะ  ถังน้ำล้าง(FLUSH TANK) 3 5
     อ่างล้างมือ  ก๊อกน้ำ 1 2
     ฝักบัว  ก๊อกน้ำ 2 4
     อ่างอาบน้ำ  ก๊อกน้ำ 2 4

        หน่วยสุขภัณฑ์ หมายความว่า ตัวเลข ที่แสดงถึง ปริมาณการใช้น้ำ หรือ การระบายน้ำ เปรียบเทียบกัน ระหว่างสุขภัณฑ์ ต่างชนิดกัน
        ทั้งนี้ สุขภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุ ให้เทียบเคียงตัวเลข ตามตารางข้างต้น
    ข้อ 37
        ระบบท่อจ่ายน้ำ ต้องมีวิธี ป้องกันมิให้ สิ่งปนเปื้อน จากภายนอก เข้าไปในท่อจ่ายน้ำได้
        ในกรณี ที่ระบบท่อจ่ายน้ำ แยกกัน ระหว่างน้ำดื่ม กับ น้ำใช้ ต้องแยก ชนิดของท่อจ่ายน้ำ ให้ชัดเจน ห้ามต่อท่อจ่ายน้ำ ทั้งสองระบบ เข้าด้วยกัน



  • หมวด 5 ระบบกำจัดขยะมูลฝอย
    ข้อ 38
        ในอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีการจัดเก็บ ขยะมูลฝอย โดยวิธีขนลำเลียง หรือ ทิ้งลง ปล่องทิ้งขยะมูลฝอย
    ข้อ 39
        การคิดปริมาณมูลฝอย ที่เกิดขึ้นในอาคาร ให้คิดจาก อัตราการใช้ ดังต่อไปนี้
         (1) การใช้เพื่อการอยู่อาศัย ปริมาณมูลฝอย ไม่น้อยกว่า 2.40 ลิตร ต่อคนต่อวัน
         (2) การใช้เพื่อ การพาณิชยกรรม หรือ การอื่น ปริมาณมูลฝอย ไม่น้อยกว่า 0.4 ลิตร ต่อพื้นที่ หนึ่งตารางเมตร ต่อวัน
    ข้อ 40
        อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องจัดให้มี ที่พักรวมมูลฝอย ที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
         (1) ต้องมีขนาดความจุ ไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของปริมาณมูลฝอย ที่เกิดขึ้น ในแต่ละวันตามข้อ 39
         (2) ผนังต้องทำด้วย วัสดุถาวร และ ทนไฟ
         (3) พื้นผิวภายใน ต้องเรียบ และ กันน้ำซึม
         (4) ต้องมี การป้องกันกลิ่น และ น้ำฝน
         (5) ต้องมี การระบายน้ำเสีย จากมูลฝอย เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย
         (6) ต้องมี การระบายอากาศ และ ป้องกันน้ำเข้า
        ที่พักรวมมูลฝอย ต้องมีระยะห่าง จากสถานที่ประกอบอาหาร และ สถานที่เก็บอาหาร ไม่น้อยกว่า 4.00 เมตร แต่ถ้า ที่พักรวมมูลฝอย มีขนาดความจุ เกิน 3 ลูกบาศก์เมตร ต้องมีระยะห่าง จากสถานที่ดังกล่าว ไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร และ สามารถ ขนย้ายมูลฝอย ได้โดยสะดวก
    ข้อ 41
        ที่พักมูลฝอย ของอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
         (1) ฝา ผนัง และ ประตู ต้องแข็งแรงทนทาน ประตูต้องปิดได้สนิท เพื่อป้องกันกลิ่น
         (2) ขนาดเหมาะสมกับสถานที่ และ สะดวกต่อการทำความสะอาด
    ข้อ 42
        ปล่องทิ้งมูลฝอย ของอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
         (1) ต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ มีขนาดความกว้าง แต่ละด้าน หรือ เส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ผิวภายในเรียบ ทำความสะอาดได้ง่าย และ ไม่มีส่วนใด ที่จะทำให้ มูลฝอยติดค้าง
         (2) ประตู หรือ ช่องทิ้งมูลฝอย ต้องทำด้วย วัสดุทนไฟ และ ปิดได้สนิท เพื่อป้องกัน มิให้มูลฝอย ปลิวย้อนกลับ และ ติดค้างได้
         (3) ต้องมีการระบายอากาศเพื่อป้องกันกลิ่น
         (4) ปลายล่างของปล่องทิ้งมูลฝอย ต้องมีประตูปิดสนิท เพื่อป้องกันกลิ่น ... อ่านต่อ
  •  


    Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.