| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 82 ท่าน 
FreeSplanS MENU
L i n k E x c h a n g e

Link to us!!!
Link to US!!!



 

Building Laws

 

กลับสู่หน้า กฏหมายควบคุมอาคาร กฏหมายควบคุมอาคาร

กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) เรื่อง อาคารสูง ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

| กฏหมายอาคารสูง1 | กฏหมายอาคารสูง2 | กฏหมายอาคารสูง3 | กฏหมายอาคารสูง4 |
| กฏหมายอาคารสูง5 |
 

     บางส่วนของกฎหมายถูกยกเลิก / แก้ไข / เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 42 , 50 ซึ่ง  ได้แทรกไว้ในที่นี้แล้ว

  • หมวด 2 ระบบระบายอากาศ ระบบไฟฟ้า และ ระบบป้องกันเพลิงไหม้
    ข้อ 9
         การระบายอากาศ ในอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องจัดให้มี การระบายอากาศ โดยวิธีธรรมชาติ หรือ โดยวิธีกล ดังต่อไปนี้
         (1) การระบายอากาศ โดยวิธีธรรมชาติ ให้ใช้เฉพาะ กับพื้นที่ มีผนังด้านนอก อย่างน้อยหนึ่งด้าน โดยให้มี ช่องเปิด สู่ภายนอกอาคารได้ เช่น ประตู หน้าต่าง หรือ บานเกล็ด ซึ่งต้องเปิดไว้ ระหว่างใช้สอย พื้นที่นั้น ๆ และ พื้นที่ของช่องเปิดนี้ ต้องเปิดได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นนั้น
        (แก้ไข ข้อ 9(1) โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
         การระบายอากาศ โดยวิธีธรรมชาติ ให้ใช้เฉพาะ กับห้อง ในอาคาร ที่มีผนัง ด้านนอกอาคาร อย่างน้อยหนึ่งด้าน โดยจัดให้มี ช่องเปิด สู่ภายนอกอาคารได้ เช่น ประตู หน้าต่าง หรือ บานเกล็ด ซึ่งต้องเปิดไว้ ระหว่างใช้สอย ห้องนั้น ๆ และ พื้นที่ของช่องเปิดนี้ ต้องเปิดได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นนั้น
         (2) การระบายอากาศ โดยวิธีกล ให้ใช้กับ พื้นอาคารใดก็ได้ โดยให้มี กลอุปกรณ์ ขับเคลื่อนอากาศ เพื่อให้เกิด การนำอากาศภายนอก เข้ามา ตามอัตรา ดังต่อไปนี้
        (แก้ไข ข้อ 9(2) โดยกฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
         การระบายอากาศ โดยวิธีกล ให้ใช้กับ ห้องในอาคาร ลักษณะใดก็ได้ โดยจัดให้มี กลอุปกรณ์ ขับเคลื่อนอากาศ ซึ่งต้อง ทำงานตลอดเวลา ระหว่างที่ ใช้สอย ห้องนั้น เพื่อให้เกิด การนำอากาศภายนอก เข้ามา ตามอัตรา ดังต่อไปนี้
         การระบายอากาศ
         ลำดับ สถานที่ อัตราการระบายอากาศไม่น้อยกว่าจำนวน เท่าของปริมาตรของห้องใน1ชั่วโมง
        1 ห้องน้ำ ห้องส้วมของที่พักอาศัยหรือสำนักงาน 2
        2 ห้องน้ำ ห้องส้วมของอาคารสาธารณะ 4
        3 ที่จอดรถที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน 4
        4 โรงงาน 4
        5 โรงมหรสพ 4
        6 สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม 7
        7 สำนักงาน 7
        8 ห้องพักในโรงแรมหรืออาคารชุด 7
        9 ห้องครัวของที่พักอาศัย 12
        10 ห้องครัวของสถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม 24
        11 ลิฟต์โดยสารและลิฟต์ดับเพลิง 30
         สำหรับห้องครัว ของสถานที่ จำหน่ายอาหาร และ เครื่องดื่ม จะให้มีอัตรา การระบายอากาศ น้อยกว่าที่กำหนดได้ แต่ต้องมี การระบายอากาศ ครอบคลุม แห่งที่เกิดของกลิ่น ควัน หรือ ก๊าซที่ต้องการระบาย ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่า 12 เท่า ของปริมาตร ของห้อง ใน 1 ชั่วโมง
         สถานที่อื่น ๆ ที่มิได้ระบุไว้ ในตาราง ให้ใช้อัตรา การระบายอากาศ ของสถานที่ ที่มีลักษณะ ใกล้เคียงกัน
         ตำแหน่ง ช่องนำอากาศเข้า โดยวิธีกล ต้องห่างจาก ที่เกิดอากาศเสีย และ ช่องระบายอากาศทิ้ง ไม่น้อยกว่า 5.00 เมตร สูงจากพื้นดิน ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
         การนำอากาศเข้า และ การระบายอากาศทิ้ง โดยวิธีกล ต้องไม่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรำคาญ แก่ประชาชน ผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
        (แก้ไข 4 วรรค ข้างต้น โดยกฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตาม 4 วรรคต่อไปนี้)
         สำหรับห้องครัว ของสถานที่ จำหน่ายอาหาร และ เครื่องดื่ม ถ้าได้จัดให้มี การระบายอากาศ ครอบคลุม แหล่งที่เกิด ของกลิ่น ควัน หรือ ก๊าซ ที่ต้องการ ระบาย ในขนาด ที่เหมาะสมแล้ว จะให้มีอัตรา การระบายอากาศ ในส่วนอื่น ของห้องครัวนั้น น้อยกว่าอัตรา ที่กำหนดไว้ ในตารางก็ได้ ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 12 เท่า ของปริมาตร ของห้อง ใน 1 ชั่วโมง
        สถานที่อื่น ๆ ที่มิได้ระบุไว้ ในตาราง ให้ใช้อัตรา การระบายอากาศ ของสถานที่ ที่มีลักษณะ ใกล้เคียง กับอัตรา ที่กำหนดไว้ ในตาราง
        ตำแหน่ง ของช่อง นำอากาศภายในเข้า โดยวิธีกล ต้องห่างจาก ที่เกิดอากาศเสีย และ ช่องระบายอากาศทิ้ง ไม่น้อยกว่า 5.00 เมตร สูงจากพื้นดิน ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
        การนำอากาศภายนอกเข้า และ การระบายอากาศทิ้ง โดยวิธีกล ต้องไม่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรำคาญ แก่ประชาชน ผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
    ข้อ 10
         การระบายอากาศ ในอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีการปรับภาวะอากาศ ด้วยระบบ ปรับภาวะอากาศ ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
         (1) ต้องมี การนำอากาศภายนอก เข้ามาในพื้นที่ ที่ปรับภาวะอากาศ หรือ ดูดอากาศ จากภายใน พื้นที่ปรับภาวะอากาศ ออกไป ไม่น้อยกว่า อัตราดังต่อไปนี้
    การระบายอากาศ ในกรณีที่มี ระบบปรับภาวะอากาศ

  •  
    ลำดับ สถานที่ ลบ.ม./ช.ม./ต.ร.ม.
    1 ห้างสรรพสินค้า (ทางเดินชมสินค้า) 2
    2 โรงงาน 2
    3 สำนักงาน 2
    4 สถานอาบ อบ นวด 2
    5 ชั้นติดต่อธุระกับธนาคาร 2
    6 ห้องพักในโรงแรมหรืออาคารชุด 2
    7 ห้องปฏิบัติการ 2
    8 ร้านตัดผม 3
    9 สถานโบว์ลิ่ง 4
    10 โรงมหรสพ (บริเวณที่นั่งสำหรับคนดู) 4
    11 ห้องเรียน 4
    12 สถานบริหารร่างกาย 5
    13 ร้านเสริมสวย 5
    14 ห้องประชุม 6
    15 ห้องน้ำ ห้องส้วม 10
    16 สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม(ห้องรับประทานอาหาร) 10
    17 ไนต์คลับ บาร์ หรือสถานลีลาศ 10
    18 ห้องครัว 30
    19 โรงพยาบาล
    -ห้องคนไข้
    -ห้องผ่าตัดและห้องคลอด
    -ห้อง ไอ.ซี.ยู.
     
    2
    8
    5

         สถานที่อื่น ๆ ที่มิได้ระบุไว้ ในตาราง ให้ใช้อัตรา การระบายอากาศ ของสถานที่ ที่มีลักษณะ ใกล้เคียงกัน
         (2) ห้ามนำ สารทำความเย็น ชนิดเป็นอันตราย ต่อร่างกาย หรือ ติดไฟได้ง่าย มาใช้กับ ระบบปรับภาวะอากาศ ที่ใช้สารทำความเย็น โดยตรง
         (3) ระบบปรับภาวะอากาศด้วยน้ำ ห้ามต่อท่อน้ำ ของระบบปรับภาวะอากาศ เข้ากับท่อน้ำ ของระบบประปา โดยตรง
         (4) ระบบท่อลม ของระบบปรับภาวะอากาศ ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
             (ก) ท่อลม วัสดุหุ้มท่อลม และ วัสดุบุภายในท่อลม ต้องเป็นวัสดุ ที่ไม่ติดไฟ และ ไม่เป็นส่วน ที่ทำให้เกิดควัน เมื่อเกิดเพลิงไหม้
             (ข)
        ท่อลม ส่วนที่ติดตั้ง ผ่านผนังกันไฟ หรือ พื้นที่ทำด้วยวัสดุทนไฟ ต้องติดตั้ง ลิ้นกันไฟ ที่ปิดอย่างสนิท โดยอัตโนมัติ เมื่ออุณหภูมิสูง เกินกว่า 74 องศาเซลเซียส และ ลิ้นกันไฟ ต้องมีอัตรา การทนไฟ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที
         (แก้ไข ข้อ 10 (4)(ข) โดยกฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามข้อต่อไปนี้)
        ท่อลม ส่วนที่ติดตั้ง ผ่านผนังกันไฟ หรือ พื้นของอาคาร ที่ทำด้วยวัสดุทนไฟ ต้องติดตั้ง ลิ้นกันไฟ ที่ปิดอย่างสนิท โดยอัตโนมัติ เมื่ออุณหภูมิสูง เกินกว่า 74 องศาเซลเซียส และ ลิ้นกันไฟ ต้องมีอัตรา การทนไฟ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที
         (ค)
        ห้ามใช้ทางเดินร่วม บันได ช่องบันได ช่องลิฟต์ ของอาคาร เป็นส่วนหนึ่ง ของระบบท่อลมส่ง หรือ ระบบท่อลมกลับ เว้นแต่ ส่วนที่เป็น พื้นที่ว่าง ระหว่างเพดาน กับ พื้นห้อง ชั้นเหนือขึ้นไป หรือ หลังคา ที่มีส่วนประกอบ ของเพดาน ที่มีอัตรา การทนไฟ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
         (แก้ไข ข้อ 10(4)(ค) โดยกฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามข้อต่อไปนี้)
        ห้ามใช้ทางเดินร่วม บันได ช่องบันได ช่องลิฟต์ ของอาคาร เป็นส่วนหนึ่ง ของระบบท่อลมส่ง หรือ ระบบท่อลมกลับ เว้นแต่ ส่วนที่เป็น พื้นที่ว่าง ระหว่างเพดาน กับ พื้นของอาคาร ชั้นเหนือขึ้นไป หรือ หลังคา ที่มีส่วนประกอบ ของเพดาน ที่มีอัตรา การทนไฟ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
        (เพิ่ม ข้อ 10 ทวิ โดยกฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ดังต่อไปนี้)
    ข้อ 10 ทวิ
        อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีโถง ภายในอาคาร เป็นช่อง เปิดทะลุ พื้นของอาคาร ตั้งแต่ สองชั้นขึ้นไป และ ไม่มีผนังปิดล้อม ต้องจัดให้มี ระบบควบคุม การแพร่กระจาย ของควัน ทีสามารถ ทำงานได้ โดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ทั้งนี้ เพื่อระบายควัน ออกสู่ ภายนอกอาคาร ได้อย่างรวดเร็ว
         (5) การขับเคลื่อนอากาศ ของระบบปรับภาวะอากาศ ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
             (ก) มีสวิตซ์พัดลม ของระบบ การขับเคลื่อนอากาศ ที่ปิดเปิดด้วยมือ ติดตั้งในที่ ที่เหมาะสม และ สามารถปิดสวิตซ์ ได้ทันที เมื่อเกิดเพลิงไหม้
             (ข) ระบบปรับภาวะอากาศ ที่มีลมหมุนเวียน ตั้งแต่ 50 ลูกบาศก์เมตร ต่อนาทีขึ้นไป ต้องติดตั้ง อุปกรณ์ตรวจจับควัน หรือ อุปกรณ์ตรวจสอบ การเกิดเพลิงไหม้ ที่มีสมรรถนะ ไม่ด้อยกว่า อุปกรณ์ตรวจจับควัน ซึ่งสามารถบังคับ ให้สวิตซ์ หยุดการทำงาน ของระบบได้ โดยอัตโนมัติ
        ทั้งนี้ การออกแบบ และ ควบคุมการติดตั้ง ระบบปรับภาวะอากาศ และ ระบบระบายอากาศ ในอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องดำเนินการ โดยผู้ได้รับ ใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม ตั้งแต่ประเภท สามัญวิศวกรขึ้นไป ตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม
    ข้อ 11
         อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีระบบ จ่ายพลังงานไฟฟ้า เพื่อการแสงสว่าง หรือ กำลัง ซึ่งต้องมี การเดินสาย และ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ตามมาตรฐาน ของการไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในกรณี ที่อยู่นอก เขตความรับผิดชอบ ของการไฟฟ้านครหลวง และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้ใช้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยทางไฟฟ้า ของสำนักงาน พลังงานแห่งชาติ
         ในระบบจ่ายไฟฟ้า ต้องมีสวิตซ์ประธาน ซึ่งติดตั้ง ในที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะ แยกจากบริเวณ ที่ใช้สอยเพื่อการอื่น ในกรณีนี้ จะจัดไว้ เป็นห้องต่างหาก สำหรับกรณี ติดตั้งภายในอาคาร หรือ จะแยกเป็นอาคาร โดยเฉพาะก็ได้
         การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้นำความ ในวรรคสอง มาใช้บังคับ โดยจะรวม บริเวณที่ติดตั้ง สวิตซ์ประธาน หม้อแปลงไฟฟ้า และ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไว้ในที่เดียวกันก็ได้
         เมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าเต็มที่ ตามที่กำหนด ในแบบแปลน ระบบไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า ที่สายวงจรย่อย จะแตกต่างจาก แรงดันไฟฟ้า ที่แผงสวิตซ์ประธาน ได้ไม่เกิน ร้อยละห้า
    ข้อ 12
         แผงสวิตซ์วงจรย่อยทุกแผง ของระบบไฟฟ้า ต้องต่อลงดิน การต่อลงดิน หลักสายดิน และ วิธีการต่อ ให้เป็นไปตาม มาตรฐานของ การไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูภูมิภาค ในกรณีที่อยู่นอกเขต ความรับผิดชอบ ของการไฟฟ้านครหลวง และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้ใช้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัย ทางไฟฟ้า ของสำนักงาน พลังงานแห่งชาติ
    ข้อ 13
         อาคารสูง ต้องมีระบบป้องกัน อันตรายจากฟ้าผ่า ซึ่งประกอบด้วย เสาล่อฟ้า สายล่อฟ้า สายตัวนำ สายนำลงดิน และ หลักสายดิน ที่เชื่อมโยงกัน เป็นระบบสำหรับ สายนำลงดิน ต้องมีขนาดพื้นที่ ภาคตัดขวาง เทียบได้ไม่น้อยกว่า สายทองแดงตีเกลียว ขนาด 30 ตารางมิลลิเมตร สายนำลงดินนี้ ต้องเป็นระบบ ที่แยกเป็นอิสระ จากระบบสายดินอื่น
         อาคารแต่ละหลัง ต้องมีสายตัวนำ โดยรอบอาคาร และ มีสายนำลงดิน ต่อจากสายตัวนำ ห่างกันทุกระยะ ไม่เกิน 30 เมตร วัดตามแนว ขอบรอบอาคาร ทั้งนี้ สายนำลงดิน ของอาคาร แต่ละหลัง ต้องมี ไม่น้อยกว่าสองสาย
         เหล็กเสริม หรือ เหล็กรูปพรรณ ในโครงการสร้างอาคาร อาจใช้เป็น สายนำลงดินได้ แต่ต้องมี ระบบการถ่ายประตุไฟฟ้า จากโครงสร้าง สู่หลักสายดิน ได้ถูกต้อง ตามหลักวิชาการช่าง
         ระบบป้องกันอันตราย จากฟ้าผ่า ให้เป็นไปตาม มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัย ทางไฟฟ้า ของสำนักงาน พลังงานแห่งชาติ
    ข้อ 14
         อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีระบบ จ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง สำหรับกรณีฉุกเฉิน แยกเป็นอิสระ จากระบบอื่น และ สามารถทำงาน ได้โดยอัตโนมัติ เมื่อระบบจ่ายไฟฟ้าปกติ หยุดทำงาน
         แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง สำหรับกรณีฉุกเฉิน ตามวรรคหนึ่ง ต้องสามารถ จ่ายพลังงานไฟฟ้า ได้เพียงพอ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
         (1) จ่ายพลังงานไฟฟ้า เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า สองชั่วโมง สำหรับเครื่องหมาย แสดงทางฉุกเฉิน ทางเดิน ห้องโถง บันได และ ระบบสัญญาณ เตือนเพลิงไหม้
         (2) จ่ายพลังงานไฟฟ้า ตลอดเวลา ที่ใช้งาน สำหรับลิฟต์ดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ห้องช่วยชีวิตฉุกเฉิน ระบบสื่อสาร เพื่อความปลอดภัย ของสาธารณะ และ กระบวนการผลิต ทางอุตสาหกรรม ที่จะก่อให้เกิดอันตราย ต่อชีวิต หรือ สุขภาพอนามัย เมื่อกระแสไฟฟ้าขัดข้อง  ... อ่านต่อ



     

    Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.