| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 193 ท่าน 
FreeSplanS MENU
L i n k E x c h a n g e

Link to us!!!
Link to US!!!




 

Building Laws

 

กลับสู่หน้า กฏหมายควบคุมอาคาร กฏหมายควบคุมอาคาร

กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) เรื่อง อาคารสูง ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

| กฏหมายอาคารสูง1 | กฏหมายอาคารสูง2 | กฏหมายอาคารสูง3 | กฏหมายอาคารสูง4 |
| กฏหมายอาคารสูง5 |
 

     บางส่วนของกฎหมายถูกยกเลิก / แก้ไข / เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 42 , 50 ซึ่ง  ได้แทรกไว้ในที่นี้แล้ว

ข้อ 15
     กระแสไฟฟ้า ที่ใช้กับลิฟต์ดับเพลิง ต้องต่อจาก แผงสวิตซ์ประธาน ของอาคาร เป็นวงจร ที่แยกเป็นอิสระ จากวงจรทั่วไป
     วงจรไฟฟ้าสำรอง สำหรับลิฟต์ดับเพลิง ต้องมีการป้องกัน อันตรายจากเพลิงไหม้ อย่างดีพอ
ข้อ 16
    ในอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมี ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ทุกชั้น ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ อย่างน้อย ต้องประกอบด้วย
     (1) อุปกรณ์ส่งสัญญาณ เพื่อให้หนีไฟ ที่สามารถส่งเสียง หรือ สัญญาณ ให้คนที่อยู่ ในอาคาร ได้ยิน หรือ ทราบอย่างทั่วถึง
     (2) อุปกรณ์แจ้งเหตุ ที่มีทั้ง ระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติ และ ระบบแจ้งเหตุที่ใช้มือ เพื่อให้อุปกรณ์ตาม (1) ทำงาน
ข้อ 17
    แบบแปลนระบบไฟฟ้าให้ประกอบด้วย
     (1) แผนผังวงจรไฟฟ้า ของแต่ละชั้น ของอาคาร ที่มีมาตราส่วน เช่นเดียวกับ ที่กำหนดใน กฎกระทรวง ว่าด้วยขนาด ของแบบแปลน ที่ต้องยื่น ประกอบการขออนุญาต ในการก่อสร้างอาคาร ซึ่งแสดงถึง
         (ก) รายละเอียด การเดินสาย และ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด ในแต่ละวงจรย่อย ของระบบ ไฟฟ้าแสงสว่าง และ กำลัง
         (ข) รายละเอียด การเดินสาย และ การติดตั้ง อุปกรณ์ทั้งหมด ของระบบ สัญญาณเตือนเพลิงไหม้
         (ค) รายละเอียด การเดินสาย และ การติดตั้ง อุปกรณ์ทั้งหมด ของระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน
     (2) แผนผังวงจรไฟฟ้า แสดงรายละเอียด ของระบบสายดิน สายประธานต่าง ๆ รวมทั้งรายละเอียด ของระบบป้องกัน สายประธานดังกล่าว และ อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด ของทุกระบบ
     (3) รายการประกอบแบบแสดงรายละเอียดของการใช้ไฟฟ้า
     (4) แผนผังวงจร และ การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า แผงควบคุม หรือ แผงจ่ายไฟฟ้า และ ระบบ จ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง
     (5) แผงผัง และ รายละเอียด การเดินสาย และ การติดตั้ง อุปกรณ์ทั้งหมด ของระบบ ป้องกันอันตราย จากฟ้าผ่า
ข้อ 18
    อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีระบบ ป้องกันเพลิงไหม้ ซึ่งประกอบด้วย ระบบท่อยืน ที่เก็บน้ำสำรอง และ หัวรับน้ำดับเพลิง ดังต่อไปนี้
     (1) ท่อยืน ต้องเป็นโลหะผิวเรียบ ที่สามารถ ทนความดันใช้งาน ได้ไม่น้อยกว่า 1.2 เมกะปาสกาลมาตร โดยท่อดังกล่าว ต้องทาด้วย สีน้ำมันสีแดง และ ติดตั้งตั้งแต่ชั้นล่างสุด ไปยังชั้นสูงสุด ของอาคาร ระบบท่อยืนทั้งหมด ต้องต่อเข้ากับ ท่อประธานส่งน้ำ และ ระบบส่งน้ำ จากแหล่งจ่ายน้ำ ของอาคาร และ จากหัวรับน้ำดับเพลิง นอกอาคาร
     (2) ทุกชั้นของอาคาร ต้องจัดให้มี ตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิง ที่ประกอบด้วย หัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง พร้อมสายฉีดน้ำดับเพลิง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร (1 นิ้ว) และ หัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง ชนิดหัวต่อสวมเร็ว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 มิลลิเมตร (2 1/2 นิ้ว) พร้อมทั้งฝาครอบ และ โซ่ร้อย ติดไว้ทุกระยะ ห่างกันไม่เกิน 64.00 เมตร และ เมื่อใช้สายฉีดน้ำดับเพลิง ยาวไม่เกิน 30.00 เมตร ต่อจากตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิงแล้ว สามารถนำไป ใช้ดับเพลิง ในพื้นที่ ทั้งหมดในชั้นนั้นได้
     (3) อาคารสูง ต้องมีที่ เก็บน้ำสำรอง เพื่อใช้เฉพาะ ในการดับเพลิง และ ต้องมีระบบส่งน้ำ ที่มีความดันต่ำสุดที่หัว ต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง ที่ชั้นสูงสุด ไม่น้อยกว่า 0.45 เมกะปาสกาลมาตร แต่ไม่เกิน 0.7 เมกะปาสกาลมาตร ด้วยอัตราการไหล 30 ลิตรต่อวินาที โดยให้มี ประตูน้ำปิดเปิด และ ประตูน้ำกันน้ำไหลกลับอัตโนมัติ ด้วย
     (4) หัวรับน้ำดับเพลิง ที่ติดตั้งภายนอกอาคาร ต้องเป็นชนิด ข้อต่อสวมเร็ว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 มิลลิเมตร (2 1/2 นิ้ว) ที่สามารถ รับน้ำจากรถดับเพลิง ที่มีข้อต่อสวมเร็ว แบบมีเขี้ยว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 มิลลิเมตร (2 1/2 นิ้ว) ที่หัวรับน้ำดับเพลิง ต้องมีฝาปิดเปิด ที่มีโซ่ ร้อยติดไว้ด้วย ระบบท่อยืนทุกชุด ต้องมีหัวรับน้ำดับเพลิง นอกอาคาร หนึ่งหัว ในที่ ที่พนักงานดับเพลิง เข้าถึงได้ โดยสะดวกรวดเร็วที่สุด และ ให้อยู่ ใกล้หัวท่อดับเพลิงสาธารณะ มากที่สุด บริเวณใกล้ หัวรับน้ำดับเพลิง นอกอาคาร ต้องมีข้อความ เขียนด้วยสีสะท้อนแสงว่า "หัวรับน้ำดับเพลิง"
     (5) ปริมาณการส่งจ่ายน้ำสำรอง ต้องมีปริมาณการจ่าย ไม่น้อยกว่า 30 ลิตรต่อวินาที สำหรับท่อยืน ท่อแรก และ ไม่น้อยกว่า 15 ลิตรต่อวินาที สำหรับท่อยืนแต่ละท่อ ที่เพิ่มขึ้น ในอาคาร หลังเดียวกัน แต่รวมแล้ว ไม่จำเป็นต้องมากกว่า 95 ลิตรต่อวินาที และ สามารถส่ง จ่ายน้ำสำรองได้ เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 30 นาที
ข้อ 19
    อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ นอกจากต้องมี ระบบป้องกันเพลิงไหม้ ตามข้อ 18 แล้ว ต้องติดตั้ง เครื่องดับเพลิง แบบมือถือ ตามชนิด และ ขนาดที่เหมาะสม สำหรับดับเพลิง ที่เกิดจาก ประเภทของวัสดุ ที่มีในแต่ละชั้น โดยให้มี หนึ่งเครื่องต่อ พื้นที่อาคาร ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45.00 เมตร แต่ไม่น้อยกว่า ชั้นละ 1 เครื่อง
    การติดตั้ง เครื่องดับเพลิง ตามวรรคหนึ่ง ต้องติดตั้ง ให้ส่วนบนสุด ของตัวเครื่อง สูงจากระดับ พื้นอาคาร ไม่เกิน 1.50 เมตร ในที่มองเห็น สามารถอ่าน คำแนะนำการใช้ได้ และ สามารถ เข้าใช้สอย ได้โดยสะดวก
    เครื่องดับเพลิง แบบมือถือ ต้องมีขนาด บรรจุสารเคมี ไม่น้อยกว่า 4 กิโลกรัม
ข้อ 20
    อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องจัดให้มี ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่น SPRINKLE SYSTEM หรือ ระบบอื่น ที่เทียบเท่า ที่สามารถ ทำงานได้ด้วยตัวเอง ทันทีเมื่อมีเพลิงไหม้ โดยให้สามารถ ทำงาน ครอบคลุม พื้นที่ทั้งหมด ทุกชั้น ในการนี้ ให้แสดงแบบแปลน และ รายการประกอบแบบแปลน ของระบบดับเพลิงอัตโนมัติ ในแต่ละชั้น ของอาคารไว้ด้วย
ข้อ 21
    แบบแปลน ระบบท่อน้ำต่าง ๆ ในแต่ละชั้น ของอาคาร ให้มีมาตราส่วน เช่นเดียวกับที่ กำหนดในกฎกระทรวง ว่าด้วยขนาด ของแบบแปลน ที่ต้องยื่นประกอบ การขออนุญาต ในการก่อสร้างอาคาร โดยให้มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
     (1) ระบบท่อน้ำประปา ที่แสดงแผนผัง การเดินท่อ เป็นระบบ จากแหล่งจ่ายน้ำ ไปสู่อุปกรณ์ และ สุขภัณฑ์ทั้งหมด
     (2) ระบบท่อน้ำดับเพลิง ที่แสดงแผนผัง การเดินท่อ เป็นระบบ จากแหล่งจ่ายน้ำ หรือ หัวรับน้ำดับเพลิง ไปสู่หัวฉีด สายฉีดน้ำดับเพลิง และ ที่เก็บน้ำสำรอง
     (3) ระบบท่อระบายน้ำ ที่แสดงแผนผัง การเดินท่อระบายน้ำฝน การเดินท่อน้ำเสีย จากสุขภัณฑ์ และ ท่อน้ำเสียอื่น ๆ จนถึง ระบบบำบัดน้ำเสีย รวมทั้ง การเดินท่อระบายอากาศ ของระบบท่อน้ำเสีย
     (4) ระบบการเก็บ และ จ่ายน้ำจากที่เก็บน้ำสำรอง
ข้อ 22
    อาคารสูง ต้องมีบันไดหนีไฟ จากชั้นสูงสุด หรือ ดาดฟ้า สู่พื้นดิน อย่างน้อย 2 บันได ตั้งอยู่ในที่ ที่บุคคล ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด ของอาคาร สามารถมาถึง บันไดหนีไฟ ได้สะดวก แต่ละบันไดหนีไฟ ต้องอยู่ห่างกัน ไม่เกิน 60.00 เมตร เมื่อวัด ตามแนวทางเดิน
    ระบบบันไดหนีไฟ ตามวรรคหนึ่ง ต้องแสดง การคำนวณ ให้เห็นว่า สามารถ ใช้ลำเลียง บุคคลทั้งหมด ในอาคาร ออกนอกอาคาร ได้ภายใน 1 ชั่วโมง
ข้อ 23
    บันไดหนีไฟ ต้องทำ ด้วยวัสดุทนไฟ และ ไม่ผุกร่อน เช่น คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นต้น มีความกว้าง ไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร และ มีราวบันได อย่างน้อยหนึ่งด้าน
    ห้ามสร้างบันไดหนีไฟ เป็นแบบบันไดเวียน
ข้อ 24
    บันไดหนีไฟ และ ชานพัก ส่วนที่อยู่นอกอาคาร ต้องมีผนัง ด้านที่บันไดพาดผ่าน เป็นผนังกันไฟ
ข้อ 25
    บันไดหนีไฟ ที่อยู่ภายในอาคาร ต้องมี อากาศถ่ายเท จากภายนอกอาคารได้ แต่ละชั้น ต้องมี ช่องระบายอากาศ ที่มีพื้นที่รวมกัน ไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร เปิดสู่ ภายนอกอาคารได้ หรือ มีระบบอัดลม ภายในช่องบันไดหนีไฟ ที่มีความดันลม ขณะใช้งาน ไม่น้อยกว่า 3.86 เมกะปาสกาลมาตร ที่ทำงานได้ โดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดเพลิงไหม้
     (เพิ่มต่อท้าย ข้อ 25 โดย กฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ดังข้อความต่อไปนี้)
    และ บันไดหนีไฟ ที่ลงสู่พื้น ของอาคารนั้น ต้องอยู่ในตำแหน่ง ที่สามารถ ออกสู่ภายนอก ได้โดยสะดวก
ข้อ 26
    บันไดหนีไฟ ที่อยู่ภายในอาคาร ต้องมี ผนังกันไฟโดยรอบ ยกเว้น ช่องระบายอากาศ และ ต้องมีแสงสว่าง จากระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน ให้มองเห็นช่องทางได้ ขณะเพลิงไหม้ และ มีป้ายบอกชั้น และ ป้ายบอกทางหนีไฟ ที่ด้านใน และ ด้านนอก ของประตูหนีไฟ ทุกชั้น ด้วยอักษร ที่สามารถ มองเห็นได้ชัดเจน โดยตัวอักษร ต้องมีขนาด ไม่เล็กกว่า 10 เซนติเมตร
ข้อ 27
    ประตูหนีไฟ ต้องทำด้วย วัสดุทนไฟ เป็นบานเปิด ชนิดผลักออกสู่ภายนอก พร้อมติดตั้ง อุปกรณ์ ชนิดที่บังคับ ให้บานประตู ปิดได้เอง มีความกว้างสุทธิ ไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร และ ต้องสามารถ เปิดออกได้โดยสะดวก ตลอดเวลา ประตู หรือ ทางออก สู่บันไดหนีไฟ ต้องไม่มีชั้น หรือ ธรณีประตู หรือ ขอบกั้น
ข้อ 28
    อาคารสูง ต้องจัดให้มี ช่องทางเฉพาะ สำหรับ บุคคลภายนอก เข้าไป บรรเทาสาธารณภัย ที่เกิด ในอาคาร ได้ทุกชั้น ช่องทางเฉพาะนี้ จะเป็นลิฟต์ดับเพลิง หรือ ช่องบันไดหนีไฟก็ได้ และ ทุกชั้น ต้องจัดให้มี ห้องว่าง ที่มีพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 6.00 ตารางเมตร ติดต่อกับช่องทางนี้ และ เป็นบริเวณ ที่ปลอดจากเปลวไฟ และ ควัน เช่นเดียวกับ ช่องบันไดหนีไฟ และ เป็นที่ตั้ง ของตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิง ประจำชั้นอาคาร
ข้อ 29
    อาคารสูง ต้องมีดาดฟ้า และ มีพื้นที่ บนดาดฟ้า ขนาดกว้าง ยาว ด้านละ ไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร เป็นที่ว่าง เพื่อใช้เป็น ทางหนีไฟ ทางอากาศได้ และ ต้องจัดให้มี ทางหนีไฟ บนชั้นดาดฟ้า นำไปสู่ บันไดหนีไฟ ได้สะดวก ทุกบันได และ มีอุปกรณ์ เครื่องช่วยในการหนีไฟ จากอาคาร ลงสู่พื้นดิน ได้โดยปลอดภัย
     (แก้ไข ข้อ 29 โดย กฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ดังต่อไปนี้)
    อาคารสูง ต้องมีดาดฟ้า และ มีพื้นที่ บนดาดฟ้า ขนาดกว้าง ยาว ด้านละ ไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร เป็นที่โล่งและว่าง เพื่อใช้เป็น ทางหนีไฟ ทางอากาศได้ และ ต้องจัดให้มี ทางหนีไฟ บนชั้นดาดฟ้า ที่จะนำไปสู่ บันไดหนีไฟ ได้สะดวก ทุกบันได รวมทั้งจัดให้มี มีอุปกรณ์ เครื่องช่วยในการหนีไฟ จากอาคาร ลงสู่พื้นดิน ได้โดยปลอดภัยด้วย
     (เพิ่ม ข้อความเรื่อง อำนาจเจ้าพนักงาน โดย กฏกระทรวง ฉบับที่ 47 พ.ศ.2540 ตาม 3 วรรค ต่อไปนี้)
    ก่อนที่ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่น จะสั่งให้เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครอง อาคาร ดำเนินการ แก้ไขอาคาร ตามข้อ 3 หรือ ข้อ 4 หรือ ข้อ 5 ให้นายช่าง ที่เจ้าหน้าที่ ท้องถิ่น กำหนด ตรวจสอบสภาพ หรือ การใช้อาคาร หรือ ระบบความปลอดภัย เกี่ยวกับ อัคคีภัย แล้วรายงาน ให้เจ้าหน้าที่ ท้องถิ่นทราบ ในรายงานนั้น อย่างน้อย ต้องประกอบด้วย ผลการตรวจสอบ อาคาร สภาพปัญหา ของอาคาร ที่จำเป็นต้องแก้ไข วิธีการแก้ไข ตลอดจน ระยะเวลา ในการแก้ไข
    ถ้านายช่าง ตรวจสอบพบว่า อาคารนั้น มีสภาพ หรือ การใช้อาคาร หรือ ระบบความปลอดภัย เกี่ยวกับ อัคคีภัย ที่อาจจะ ก่อให้เกิด ภยันตราย ต่อชีวิต หรือ ร่างกาย และ จำเป็น ต้องดำเนินการ เพื่อบรรเทาเหตุ โดยเร่งด่วน ให้นายช่าง รีบรายงาน เหตุดังกล่าว และ วิธีการ ที่จะต้อง ดำเนินการ เพื่อบรรเทาเหตุ ที่จะก่อให้เกิด ภยันตรายนั้น เพื่อให้ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีคำสั่งโดยเร็ว
    ในกรณีที่ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พบเห็นว่า อาคารตามข้อ 3 ข้อ 4 หรือ ข้อ 5 มีสภาพ หรือ มีการใช้อาคาร หรือ ระบบความปลอดภัย เกี่ยวกับ อัคคีภัย ที่อาจเป็น ภยันตราย ต่อชีวิต หรือ ร่างกาย หรือ ได้รับรายงาน จากนายช่าง ตามข้อ 6 วรรคสอง และ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เห็นว่าเป็น กรณีฉุกเฉิน ไม่อาจรอช้าไว้ได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจสั่ง ให้เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองอาคาร ดำเนินการ เพื่อบรรเทาเหตุ ที่อาจก่อให้เกิด ภยันตรายดังกล่าว ได้ทันที ตามวิธีการ ที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกำหนด และ ถ้าหาก มีความจำเป็น เจ้าพนักงานท้องถิ่น จะสั่งห้าม ไม่ให้เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองอาคาร ใช้หรือยินยอมให้ ผู้อื่นใช้อาคารนั้น ทั้งหมด หรือ บางส่วน ไว้ก่อนจนกว่า จะมีการแก้ไข เพื่อบรรเทาเหตุ ที่อาจก่อให้เกิด ภยันตรายนั้น แล้วก็ได้ 
... อ่านต่อ 



Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.