| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 86 ท่าน 
FreeSplanS MENU
L i n k E x c h a n g e

Link to us!!!
Link to US!!!


 

Building Laws

 

กลับสู่หน้า กฏหมายควบคุมอาคาร กฏหมายควบคุมอาคาร

กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) เรื่อง อาคารสูง ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

| กฏหมายอาคารสูง1 | กฏหมายอาคารสูง2 | กฏหมายอาคารสูง3 | กฏหมายอาคารสูง4 |
| กฏหมายอาคารสูง5 |
 

     บางส่วนของกฎหมายถูกยกเลิก / แก้ไข / เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 42 , 50 ซึ่ง  ได้แทรกไว้ในที่นี้แล้ว

อาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 5(3) และมาตรา 8(1) (4) (6) (7) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย โดยคำแนะนำของ คณะกรรมการ ควบคุม อาคาร ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
     "อาคารสูง" หมายความว่า อาคาร ที่บุคคล อาจเข้าอยู่ หรือ เข้าใช้สอยได้ โดยมีความสูง ตั้งแต่ 23.00เมตร ขึ้นไป การวัดความสูง ของอาคาร ให้วัดจาก ระดับพื้นดิน ที่ก่อสร้าง ถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่ว หรือ ปั้นหยา ให้วัดจาก ระดับพื้นดิน ที่ก่อสร้าง ถึงยอดผนัง ของชั้นสูงสุด
     "อาคารขนาดใหญ่พิเศษ" หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างขึ้น เพื่อใช้อาคาร หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใด ของอาคาร เป็นที่อยู่อาศัย หรือ ประกอบกิจการ ประเภทเดียว หรือ หลายประเภท โดยมีพื้นที่ รวมกันทุกชั้น หรือ ชั้นหนึ่งชั้นใด ในหลังเดียวกัน ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
     "พื้น" หมายความว่า พื้นที่ของอาคาร ที่บุคคล เข้าอยู่ หรือ เข้าใช้สอยได้ ภายในขอบเขต ของคานหรือตง ที่รับพื้น หรือ ภายในพื้นนั้น หรือ ภายในขอบเขต ของผนังอาคาร รวมทั้งเฉลียง หรือ ระเบียงด้วย
     ( ยกเลิก คำนิยาม " พื้น " โดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 )
     "พื้นที่อาคาร" หมายความว่า พื้นที่ สำหรับนำ ไปคำนวณ หาอัตราส่วน พื้นที่อาคาร ต่อ พื้นที่ดิน ซึ่งไม่รวมถึง พื้นดาดฟ้า บันไดนอกหลังคา พื้นที่ติดตั้งเครื่องจักรกลต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น
     ( แก้ไข คำนิยาม " พื้นที่อาคาร " โดย กฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้ )
     "พื้นที่อาคาร" หมายความว่า พื้นที่ ของพื้น ของอาคาร แต่ละชั้น ที่บุคคลเข้าอยู่ หรือ เข้าใช้สอยได้ ภายในขอบเขต ด้านนอกของคาน หรือ ภายในพื้นนั้น และ หมายความรวมถึง เฉลียงหรือระเบียงด้วย แต่ไม่รวม พื้นดาดฟ้า และ บันไดนอกหลังคา
     (เพิ่ม คำนิยาม " พื้นที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคาร " โดย กฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
     " พื้นที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคาร " หมายความว่า พื้นที่ของแปลงที่ดิน ที่นำมา ใช้ขออนุญาต ก่อสร้างอาคาร ไม่ว่า จะเป็นที่ดิน ตามหนังสือสำคัญ แสดงสิทธิ ในที่ดินฉบับเดียว หรือ หลายฉบับ ซึ่งเป็นที่ดิน ที่ติดต่อกัน
     (เพิ่ม คำนิยาม " ดาดฟ้า " โดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
     " ดาดฟ้า " หมายความว่า พื้นที่ส่วนบนสุด ของอาคาร ที่ไม่มี หลังคาปกคลุม และ บุคคล สามารถ ขึ้นไปใช้สอยได้
     "ที่ว่าง" หมายความว่า พื้นที่ อันปราศจากหลังคา หรือ สิ่งก่อสร้างปกคลุม เช่น บ่อน้ำ สระว่ายน้ำ หรือ ที่จอดรถ และ ให้หมายความ รวมถึงพื้นที่ ของสิ่งก่อสร้าง หรือ อาคาร ที่สูงจากระดับพื้นดิน ไม่เกิน 1.20 เมตร และ ไม่มีหลังคา หรือ สิ่งก่อสร้างปกคลุม เหนือระดับนั้น
     (แก้ไข คำนิยาม " ที่ว่าง " โดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
     "ที่ว่าง" หมายความว่า พื้นที่ อันปราศจากหลังคา หรือ สิ่งก่อสร้างปกคลุม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว อาจจะจัดให้เป็น บ่อน้ำ สระว่ายน้ำ บ่อพักน้ำเสีย ที่พักมูลฝอย หรือ ที่จอดรถ ที่อยู่ภายนอกอาคาร ก็ได้ และ ให้หมายความ รวมถึงพื้นที่ ของสิ่งก่อสร้าง หรือ อาคาร ที่สูงจากระดับพื้นดิน ไม่เกิน 1.20 เมตร และ ไม่มีหลังคา หรือ สิ่งก่อสร้างปกคลุม เหนือระดับนั้น
     "ถนนสาธารณะ" หมายความว่า ถนนที่เปิด หรือ ยินยอมให้ ประชาชนเข้าไป หรือ ใช้เป็นทางสัญจรได้ ทั้งนี้ไม่ว่า จะมีการเรียกเก็บ ค่าตอบแทนหรือไม่
     "วัสดุทนไฟ" หมายความว่า วัสดุก่อสร้าง ที่ไม่เป็นเชื้อเพลิง
     "ผนังกันไฟ" หมายความว่า ผนังทึบ ที่ก่อด้วยอิฐธรรมดา หนาไม่น้อยกว่า 18 เซนติเมตร และ ไม่มีช่อง ที่ให้ไฟ หรือ ควันผ่านได้ หรือ จะเป็นผนังทึบ ที่ทำด้วย วัสดุทนไฟอย่างอื่น ที่มีคุณสมบัติ ในการป้องกันไฟได้ดี ไม่น้อยกว่า ผนังที่ก่อด้วย อิฐธรรมดาหนา 18 เซนติเมตรถ้าเป็นผนัง คอนกรีตเหล็ก ต้องหนาไม่น้อยกว่า 12 เซนติเมตร
     "ระบบท่อยืน" หมายความว่า ท่อส่งน้ำ และ อุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับ การดับเพลิง
     "น้ำเสีย" หมายความว่า ของเหลว ที่ผ่านการใช้แล้ว ทุกชนิด ทั้งที่มีกาก และ ไม่มีกาก
     "แหล่งรองรับน้ำทิ้ง" หมายความว่า ท่อระบายน้ำสาธารณะ คู คลอง แม่น้ำ ทะเล และ แหล่งน้ำสาธารณะ
     "ระบบบำบัดน้ำเสีย" หมายความว่า กระบวนการทำ หรือ การปรับปรุง น้ำเสีย ให้มีคุณภาพ เป็นน้ำทิ้ง รวมทั้ง การทำให้ น้ำทิ้งพ้นไป จากอาคาร
     "ระบบประปา" หมายความว่า ระบบการจ่ายน้ำ เพื่อใช้และดื่ม
     "มูลฝอย" หมายความว่า มูลฝอย ตามกฎหมาย ว่าด้วยการสาธารณสุข
     "ที่พักมูลฝอย" หมายความว่า อุปกรณ์ หรือ สถานที่ ที่ใช้สำหรับ เก็บกักมูลฝอย เพื่อรอการขนย้าย ไปยังที่พักรวมมูลฝอย
     "ที่พักรวมมูลฝอย" หมายความว่า อุปกรณ์ หรือ สถานที่ ที่ใช้สำหรับ เก็บกักมูลฝอย เพื่อรอการขนไปกำจัด
     "ลิฟต์ดับเพลิง" หมายความว่า ลิฟต์ที่พนักงานดับเพลิง สามารถควบคุมการใช้ได้ ขณะเกิดเพลิงไหม้
    (เพิ่ม ข้อ 1 ทวิ โดย กฏกระทรวง ฉบับที่ 42 พ.ศ.2537 ตามวรรคต่อไปนี้)
ข้อ 1 ทวิ กฎกระทรวงนี้ มิให้ใช้บังคับ แก่อาคารจอดรถ ซึ่งติดตั้ง ระบบเคลื่อนย้ายรถ ด้วยเครื่องจักรกล ที่ได้รับ การคำนวณออกแบบ เพื่อใช้ประโยชน์ ในการจอดรถ โดยเฉพาะ

 

  • หมวด 1 ลักษณะของอาคาร เนื้อที่ว่าง ของภายนอกอาคาร และ แนวอาคาร
    ข้อ 2
         ที่ดิน ที่ใช้เป็นที่ตั้ง ของอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีพื้นที่อาคาร รวมไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร ต้องมีด้านหนึ่งด้านใด ของที่ดินนั้น ยาวไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร ติดถนนสาธารณะ ที่มีเขตทาง กว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร และ ถนนสาธารณะนั้น ต้องมีเขตทาง กว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร ยาวต่อเนื่องกัน โดยตลอด นับตั้งแต่ ที่ตั้งอาคาร จนไปเชื่อมต่อ กับถนนสาธารณะอื่น ที่มีเขตทาง กว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร
         สำหรับที่ดิน ที่ใช้เป็นที่ตั้ง ของอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีพื้นที่อาคาร มากกว่า 30,000 ตารางเมตร ต้องมีด้านหนึ่งด้านใด ของที่ดินนั้น ยาวไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร ติดถนนสาธารณะ ที่มีเขตทาง กว้างไม่น้อยกว่า 18.00 เมตร และ ถนนสาธารณะนั้น ต้องมีเขตทาง กว้างไม่น้อยกว่า 18.00 เมตร ยาวต่อเนื่องกัน โดยตลอด เป็นระยะทาง ไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่ง ของถนนสาธารณะนั้น หรือ ไม่น้อยกว่า 500.00 เมตร นับตั้งแต่ที่ตั้ง ของอาคาร
        (แก้ไข ข้อ 2 : วรรค 1 และ วรรค 2 โดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตาม 2 วรรคต่อไปนี้)
         ที่ดิน ที่ใช้เป็นที่ตั้ง ของอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีพื้นที่อาคาร รวมกันทุกชั้น ไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร ต้องมีด้านหนึ่งด้านใด ของที่ดินนั้น ยาวไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร ติดถนนสาธารณะ ที่มีเขตทาง กว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร ยาวต่อเนื่องกัน โดยตลอด จนไปเชื่อมต่อ กับถนนสาธารณะอื่น ที่มีเขตทาง กว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร
         สำหรับที่ดิน ที่ใช้เป็นที่ตั้ง ของอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีพื้นที่อาคาร รวมกันทุกชั้น มากกว่า 30,000 ตารางเมตร ต้องมีด้านหนึ่งด้านใด ของที่ดินนั้น ยาวไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร ติดถนนสาธารณะ ที่มีเขตทาง กว้างไม่น้อยกว่า 18.00 เมตร ยาวต่อเนื่องกัน โดยตลอด จนไปเชื่อมต่อ กับถนนสาธารณะอื่น ที่มีเขตทาง กว้างไม่น้อยกว่า 18.00 เมตร
        (เพิ่ม ข้อ 2 : วรรค 3 โดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
         ที่ดิน ด้านที่ติด ถนนสาธารณะ ตามวรรคหนึ่ง และ วรรคสอง ต้องมีความกว้าง ไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร ยาวต่อเนื่องกัน โดยตลอด จนถึงบริเวณ ที่ตั้งอาคาร และ ที่ดินนั้น ต้องว่าง เพื่อสามารถ ใช้เป็น ทางเข้าออก ของรถดับเพลิง ได้โดยสะดวก
    ข้อ 3
         อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีถนน หรือ ที่ว่าง ปราศจากสิ่งปกคลุม โดยรอบอาคาร กว้างไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร และ รถดับเพลิง สามารถเข้าออก ได้โดยสะดวก
         ที่ว่างตามวรรคหนึ่ง ให้รวมระยะ เขตห้ามก่อสร้างอาคารบางชนิด หรือ บางประเภท ริมถนน หรือ ทางหลวง ตามข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เข้ามาเป็นที่ว่างได้
         ในกรณี ที่มีข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือ กฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวสร้าง หรือ ขยายถนน ใช้บังคับ ให้เริ่มที่ว่าง ตามวรรคหนึ่ง ตั้งแต่แนวนั้น
        (แก้ไข ข้อ 3 : วรรค 1 วรรค 2 วรรค 3 โดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตาม 3 วรรคต่อไปนี้)
         อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องจัดให้มีถนน ที่มีผิวจราจร กว้างไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร ที่ปราศจากสิ่งปกคลุม โดยรอบอาคาร เพื่อให้ รถดับเพลิง สามารถเข้าออก ได้โดยสะดวก
         ถนนตามวรรคหนึ่ง จะอยู่ใน ระยะห้ามก่อสร้าง อาคารบางชนิด หรือ บางประเภท ริมถนน หรือ ทางหลวง ตามข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ก็ได้
         ในกรณี ที่มีข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวสร้าง หรือ ขยายถนน ใช้บังคับ ให้เริ่มนับ ความกว้างของถนน ตามวรรคหนึ่ง ตั้งแต่แนวนั้น
    ข้อ 4
         พื้นหรือผนัง ของอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องห่างเขตที่ดิน ของผู้อื่น และ ถนนสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร)
        (แก้ไข ข้อ 4 โดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
         ส่วนที่เป็น ขอบเขตนอกสุด ของอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ไม่ว่าจะอยู่ ในระดับ เหนือพื้นดิน หรือ ต่ำกว่า ระดับพื้นดิน ต้องห่างจาก เขตที่ดิน ของผู้อื่น หรือ ถนนสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร ทั้งนี้ ไม่รวมถึง ส่วนที่เป็น ฐานรากของอาคาร
    ข้อ 5
         อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีค่าสูงสุด ของอัตราส่วน พื้นที่อาคาร รวมกันทุกชั้น ต่อ พื้นที่ดิน ของอาคารทุกหลัง ที่ก่อสร้างขึ้น ในที่ดินแปลงเดียวกัน ไม่เกิน 10 ต่อ 1

        (แก้ไข ข้อ 5 โดย
    กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
         อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่ก่อสร้างขึ้น ในพื้นที่ดิน ที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคาร ต้องมีค่าสูงสุด ของอัตราส่วน พื้นที่อาคาร รวมกันทุกชั้น ของอาคารทุกหลัง ต่อ พื้นที่ดิน ที่ใช้เป็น ที่ตั้งอาคาร ไม่เกิน 10 ต่อ 1
         ในกรณีที่ อาคารอื่นใด หรือ จะมีการก่อสร้าง อาคารอื่นใด ในพื้นที่ดิน ที่ใช้เป็นที่ตั้ง อาคารเดียวกัน กับอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีค่าสูงสุด ของอัตราส่วน พื้นที่อาคาร รวมกันทุกชั้น ของอาคารทุกหลัง ต่อพื้นที่ดิน ที่ใช้เป็น ที่ตั้งอาคาร ไม่เกิน 10 ต่อ 1 ด้วย
    ข้อ 6
         อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีที่ว่าง อันปราศจากสิ่งปกคลุม ไม่น้อยกว่า อัตราส่วน ดังต่อไปนี้
         (1) อาคารอยู่อาศัย ต้องมีที่ว่าง อันปราศจากสิ่งปกคลุม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ดินแปลงนั้น
        (แก้ไข ข้อ 6 (1) โดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
         อาคารอยู่อาศัย ต้องมีที่ว่าง อันปราศจากสิ่งปกคลุม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ดิน ที่ใช้เป็น ที่ตั้งอาคาร
         (2) อาคารพาณิชย์ โรงงาน อาคารสาธารณะ และ อาคารอื่น ที่ไม่ได้ ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่าง อันปราศจากสิ่งปกคลุม ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของพื้นที่ดินแปลงนั้น แต่ถ้าอาคารนั้น ใช้เป็นที่อยู่อาศัย รวมอยู่ด้วย ต้องมีที่ว่าง อันปราศจากสิ่งปกคลุมตาม (1)
        (แก้ไข ข้อ 6 (2) โดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
         อาคารพาณิชย์ โรงงาน อาคารสาธารณะ และ อาคารอื่น ที่ไม่ได้ ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่าง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของพื้นที่ดิน ที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคาร แต่ถ้าอาคารนั้น ใช้เป็นที่อยู่อาศัย รวมอยู่ด้วย ต้องมีที่ว่าง ตาม (1)
    ข้อ 7
         อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีส่วน ของพื้นที่อาคาร ต่ำกว่าระดับพื้นดิน ต้องมีระบบระบายอากาศ และ ระบบบำบัดน้ำเสีย และ การระบายน้ำทิ้ง ตามหมวด 2 และ หมวด 3 แยกเป็นอิสระ จากระบบระบายอากาศ และ ระบบบำบัดน้ำเสีย และ การระบายน้ำทิ้งส่วนเหนือพื้นดิน
         พื้นที่อาคาร ส่วนที่ต่ำกว่า ระดับพื้นดิน ตามวรรคหนึ่ง ห้ามใช้ เป็นที่อยู่อาศัย
        (แก้ไข ข้อ 7 : วรรค 1 วรรค 2 โดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตาม 2 วรรคต่อไปนี้)
         อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มี พื้นของอาคารที่ ต่ำกว่าระดับพื้นดิน ต้องมีระบบระบายอากาศ กับ ระบบบำบัดน้ำเสีย และ การระบายน้ำทิ้ง ตามหมวด 2 และ หมวด 3 แยกเป็นอิสระ จากระบบระบายอากาศ กับ ระบบบำบัดน้ำเสีย และ การระบายน้ำทิ้งส่วนเหนือพื้นดิน
         พื้นของอาคาร ส่วนที่ต่ำกว่า ระดับพื้นดิน ตามวรรคหนึ่ง ห้ามใช้ เป็นที่อยู่อาศัย
    ข้อ 8
         พื้นอาคาร ส่วนที่ต่ำกว่า ระดับถนน หน้าอาคาร ตั้งแต่ชั้นที่ 3 ลงไป หรือ ต่ำกว่า ระดับถนนหน้าอาคารตั้งแต่ 7.00 เมตร ลงไป ต้องจัดให้มี ระบบลิฟต์ตามหมวด 6 และ ต้องจัดให้มี บันไดหนีไฟ ที่มีระบบแสงสว่าง และ ระบบอัดลมที่มีความดัน ขณะใช้งาน ไม่น้อยกว่า 3.86 เมกะปาสกาลมาตร ทำงานอยู่ตลอดเวลา ผนังบันไดหนีไฟทุกด้าน ต้องเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร เพื่อใช้เป็นที่หนีภัย ในกรณีฉุกเฉินได้ บันไดหนีไฟนี้ ต้องอยู่ห่างกัน ไม่เกิน 60.00 เมตร โดยวัดตามแนวทางเดิน
        (แก้ไข ข้อ 8 โดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรค และข้อ 8 (1) , ข้อ 8 (2) ต่อไปนี้)
         อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีพื้นของอาคาร ที่ต่ำกว่า ระดับถนน หน้าอาคาร ตั้งแต่ชั้นที่ 3 ลงไป หรือ ต่ำกว่า ระดับถนน หน้าอาคาร ตั้งแต่ 7.00 เมตร ลงไป ต้องจัดให้มี
         (1) ระบบลิฟท์ ตามหมวด 6
         (2) บันไดหนีไฟ จากชั้นล่างสุด สู่พื้นของอาคาร ที่มีทางออก สู่ภายนอก ได้โดยสะดวก และ บันไดหนีไฟนี้ ต้องมี ระบบแสงสว่าง และ ระบบอัดลม ที่มีความดัน ขณะใช้งาน ไม่น้อยกว่า 3.86 ปาสกาลมาตร ทำงาน อยู่ ตลอดเวลา และ ผนังบันไดหนีไฟ ทุกด้าน ต้องเป็น คอนกรีต เสริมเหล็ก หนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร บันไดหนีไฟ ตัองอยู่ห่างกัน ไม่เกิน 60.00 เมตร เมื่อวัด ตามแนวทางเดิน ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็น ที่หนีภัย ในกรณี ฉุกเฉินได้
        (เพิ่ม ข้อ 8 ทวิ โดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
    ข้อ 8 ทวิ
         อาคารสูง หรือ อาคารใหญ่พิเศษ ต้องจัดให้มีผนัง หรือ ประตูที่ทำด้วย วัสดุทนไฟ ที่สามารถปิดกั้น มิให้เปลวไฟ หรือ ควัน เมื่อเกิดเพลิงไหม้ เข้าไปใน บริเวณบันได ที่มิใช่ บันไดหนีไฟ ของอาคาร ทั้งนี้ ผนัง หรือ ประตูดังกล่าว ต้องสามารถทนไฟ ได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
        (เพิ่ม ข้อ 8 ตรี โดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
    ข้อ 8 ตรี
         อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องจัดให้มี แผนผังอาคาร แต่ละชั้น ติดไว้บริเวณ ห้องโถงหน้าลิฟท์ ทุกแห่ง ของแต่ละชั้นนั้น ในตำแหน่ง ที่เห็น ได้ชัดเจน และ ที่บริเวณ พื้นชั้นล่าง ของอาคาร ต้องจัดให้มี แผนผังอาคาร ของทุกชั้น เก็บรักษาไว้ เพื่อให้สามารถ ตรวจสอบได้ โดยสะดวก
         แผนผัง ของอาคาร แต่ละชั้น ให้ประกอบด้วย
         (1) ตำแหน่งของห้องทุกห้อง ของชั้นนั้น
         (2) ตำแหน่ง ที่ติดตั้งตู้ สายฉีดน้ำ ดับเพลิง หรือ หัวต่อ สายฉีดน้ำ ดับเพลิง และ อุปกรณ์ ดับเพลิงอื่นๆ ของชั้นนั้น
         (3) ตำแหน่ง ประตู หรือ ทางหนีไฟ ของชั้นนั้น
         (4) ตำแหน่ง ลิฟท์ดับเพลิง ของชั้นนั้น



  • หมวด 2 ระบบระบายอากาศ ระบบไฟฟ้า และ ระบบป้องกันเพลิงไหม้
    ข้อ 9
         การระบายอากาศ ในอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องจัดให้มี การระบายอากาศ โดยวิธีธรรมชาติ หรือ โดยวิธีกล ดังต่อไปนี้
         (1) การระบายอากาศ โดยวิธีธรรมชาติ ให้ใช้เฉพาะ กับพื้นที่ มีผนังด้านนอก อย่างน้อยหนึ่งด้าน โดยให้มี ช่องเปิด สู่ภายนอกอาคารได้ เช่น ประตู หน้าต่าง หรือ บานเกล็ด ซึ่งต้องเปิดไว้ ระหว่างใช้สอย พื้นที่นั้น ๆ และ พื้นที่ของช่องเปิดนี้ ต้องเปิดได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นนั้น

        
    (แก้ไข ข้อ 9(1) โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
        
    การระบายอากาศ โดยวิธีธรรมชาติ ให้ใช้เฉพาะ กับห้อง ในอาคาร ที่มีผนัง ด้านนอกอาคาร อย่างน้อยหนึ่งด้าน โดยจัดให้มี ช่องเปิด สู่ภายนอกอาคารได้ เช่น ประตู หน้าต่าง หรือ บานเกล็ด ซึ่งต้องเปิดไว้ ระหว่างใช้สอย ห้องนั้น ๆ และ พื้นที่ของช่องเปิดนี้ ต้องเปิดได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นนั้น
         (2) การระบายอากาศ โดยวิธีกล ให้ใช้กับ พื้นอาคารใดก็ได้ โดยให้มี กลอุปกรณ์ ขับเคลื่อนอากาศ เพื่อให้เกิด การนำอากาศภายนอก เข้ามา ตามอัตรา ดังต่อไปนี้

        
    (แก้ไข ข้อ 9(2) โดยกฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามวรรคต่อไปนี้)
        
    การระบายอากาศ โดยวิธีกล ให้ใช้กับ ห้องในอาคาร ลักษณะใดก็ได้ โดยจัดให้มี กลอุปกรณ์ ขับเคลื่อนอากาศ ซึ่งต้อง ทำงานตลอดเวลา ระหว่างที่ ใช้สอย ห้องนั้น เพื่อให้เกิด การนำอากาศภายนอก เข้ามา ตามอัตรา ดังต่อไปนี้
         การระบายอากาศ
         ลำดับ สถานที่ อัตราการระบายอากาศไม่น้อยกว่าจำนวน เท่าของปริมาตรของห้องใน1ชั่วโมง
        1 ห้องน้ำ ห้องส้วมของที่พักอาศัยหรือสำนักงาน 2
        2 ห้องน้ำ ห้องส้วมของอาคารสาธารณะ 4
        3 ที่จอดรถที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน 4
        4 โรงงาน 4
        5 โรงมหรสพ 4
        6 สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม 7
        7 สำนักงาน 7
        8 ห้องพักในโรงแรมหรืออาคารชุด 7
        9 ห้องครัวของที่พักอาศัย 12
        10 ห้องครัวของสถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม 24
        11 ลิฟต์โดยสารและลิฟต์ดับเพลิง 30
         สำหรับห้องครัว ของสถานที่ จำหน่ายอาหาร และ เครื่องดื่ม จะให้มีอัตรา การระบายอากาศ น้อยกว่าที่กำหนดได้ แต่ต้องมี การระบายอากาศ ครอบคลุม แห่งที่เกิดของกลิ่น ควัน หรือ ก๊าซที่ต้องการระบาย ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่า 12 เท่า ของปริมาตร ของห้อง ใน 1 ชั่วโมง
         สถานที่อื่น ๆ ที่มิได้ระบุไว้ ในตาราง ให้ใช้อัตรา การระบายอากาศ ของสถานที่ ที่มีลักษณะ ใกล้เคียงกัน
         ตำแหน่ง ช่องนำอากาศเข้า โดยวิธีกล ต้องห่างจาก ที่เกิดอากาศเสีย และ ช่องระบายอากาศทิ้ง ไม่น้อยกว่า 5.00 เมตร สูงจากพื้นดิน ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
         การนำอากาศเข้า และ การระบายอากาศทิ้ง โดยวิธีกล ต้องไม่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรำคาญ แก่ประชาชน ผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง

        
    (แก้ไข 4 วรรค ข้างต้น โดยกฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตาม 4 วรรคต่อไปนี้)
        
    สำหรับห้องครัว ของสถานที่ จำหน่ายอาหาร และ เครื่องดื่ม ถ้าได้จัดให้มี การระบายอากาศ ครอบคลุม แหล่งที่เกิด ของกลิ่น ควัน หรือ ก๊าซ ที่ต้องการ ระบาย ในขนาด ที่เหมาะสมแล้ว จะให้มีอัตรา การระบายอากาศ ในส่วนอื่น ของห้องครัวนั้น น้อยกว่าอัตรา ที่กำหนดไว้ ในตารางก็ได้ ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 12 เท่า ของปริมาตร ของห้อง ใน 1 ชั่วโมง
        สถานที่อื่น ๆ ที่มิได้ระบุไว้ ในตาราง ให้ใช้อัตรา การระบายอากาศ ของสถานที่ ที่มีลักษณะ ใกล้เคียง กับอัตรา ที่กำหนดไว้ ในตาราง
        ตำแหน่ง ของช่อง นำอากาศภายในเข้า โดยวิธีกล ต้องห่างจาก ที่เกิดอากาศเสีย และ ช่องระบายอากาศทิ้ง ไม่น้อยกว่า 5.00 เมตร สูงจากพื้นดิน ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
        การนำอากาศภายนอกเข้า และ การระบายอากาศทิ้ง โดยวิธีกล ต้องไม่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรำคาญ แก่ประชาชน ผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
    ข้อ 10
         การระบายอากาศ ในอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีการปรับภาวะอากาศ ด้วยระบบ ปรับภาวะอากาศ ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
         (1) ต้องมี การนำอากาศภายนอก เข้ามาในพื้นที่ ที่ปรับภาวะอากาศ หรือ ดูดอากาศ จากภายใน พื้นที่ปรับภาวะอากาศ ออกไป ไม่น้อยกว่า อัตราดังต่อไปนี้
    การระบายอากาศ ในกรณีที่มี ระบบปรับภาวะอากาศ

    ลำดับ สถานที่ ลบ.ม./ช.ม./ต.ร.ม.
    1 ห้างสรรพสินค้า (ทางเดินชมสินค้า) 2
    2 โรงงาน 2
    3 สำนักงาน 2
    4 สถานอาบ อบ นวด 2
    5 ชั้นติดต่อธุระกับธนาคาร 2
    6 ห้องพักในโรงแรมหรืออาคารชุด 2
    7 ห้องปฏิบัติการ 2
    8 ร้านตัดผม 3
    9 สถานโบว์ลิ่ง 4
    10 โรงมหรสพ (บริเวณที่นั่งสำหรับคนดู) 4
    11 ห้องเรียน 4
    12 สถานบริหารร่างกาย 5
    13 ร้านเสริมสวย 5
    14 ห้องประชุม 6
    15 ห้องน้ำ ห้องส้วม 10
    16 สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม(ห้องรับประทานอาหาร) 10
    17 ไนต์คลับ บาร์ หรือสถานลีลาศ 10
    18 ห้องครัว 30
    19 โรงพยาบาล
    -ห้องคนไข้
    -ห้องผ่าตัดและห้องคลอด
    -ห้อง ไอ.ซี.ยู.
     
    2
    8
    5

         สถานที่อื่น ๆ ที่มิได้ระบุไว้ ในตาราง ให้ใช้อัตรา การระบายอากาศ ของสถานที่ ที่มีลักษณะ ใกล้เคียงกัน
         (2) ห้ามนำ สารทำความเย็น ชนิดเป็นอันตราย ต่อร่างกาย หรือ ติดไฟได้ง่าย มาใช้กับ ระบบปรับภาวะอากาศ ที่ใช้สารทำความเย็น โดยตรง
         (3) ระบบปรับภาวะอากาศด้วยน้ำ ห้ามต่อท่อน้ำ ของระบบปรับภาวะอากาศ เข้ากับท่อน้ำ ของระบบประปา โดยตรง
         (4) ระบบท่อลม ของระบบปรับภาวะอากาศ ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
             (ก) ท่อลม วัสดุหุ้มท่อลม และ วัสดุบุภายในท่อลม ต้องเป็นวัสดุ ที่ไม่ติดไฟ และ ไม่เป็นส่วน ที่ทำให้เกิดควัน เมื่อเกิดเพลิงไหม้
             (ข)
        ท่อลม ส่วนที่ติดตั้ง ผ่านผนังกันไฟ หรือ พื้นที่ทำด้วยวัสดุทนไฟ ต้องติดตั้ง ลิ้นกันไฟ ที่ปิดอย่างสนิท โดยอัตโนมัติ เมื่ออุณหภูมิสูง เกินกว่า 74 องศาเซลเซียส และ ลิ้นกันไฟ ต้องมีอัตรา การทนไฟ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที
         (แก้ไข ข้อ 10 (4)(ข) โดยกฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามข้อต่อไปนี้)
        ท่อลม ส่วนที่ติดตั้ง ผ่านผนังกันไฟ หรือ พื้นของอาคาร ที่ทำด้วยวัสดุทนไฟ ต้องติดตั้ง ลิ้นกันไฟ ที่ปิดอย่างสนิท โดยอัตโนมัติ เมื่ออุณหภูมิสูง เกินกว่า 74 องศาเซลเซียส และ ลิ้นกันไฟ ต้องมีอัตรา การทนไฟ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที
         (ค)
        ห้ามใช้ทางเดินร่วม บันได ช่องบันได ช่องลิฟต์ ของอาคาร เป็นส่วนหนึ่ง ของระบบท่อลมส่ง หรือ ระบบท่อลมกลับ เว้นแต่ ส่วนที่เป็น พื้นที่ว่าง ระหว่างเพดาน กับ พื้นห้อง ชั้นเหนือขึ้นไป หรือ หลังคา ที่มีส่วนประกอบ ของเพดาน ที่มีอัตรา การทนไฟ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
         (แก้ไข ข้อ 10(4)(ค) โดยกฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามข้อต่อไปนี้)
        ห้ามใช้ทางเดินร่วม บันได ช่องบันได ช่องลิฟต์ ของอาคาร เป็นส่วนหนึ่ง ของระบบท่อลมส่ง หรือ ระบบท่อลมกลับ เว้นแต่ ส่วนที่เป็น พื้นที่ว่าง ระหว่างเพดาน กับ พื้นของอาคาร ชั้นเหนือขึ้นไป หรือ หลังคา ที่มีส่วนประกอบ ของเพดาน ที่มีอัตรา การทนไฟ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
        (เพิ่ม ข้อ 10 ทวิ โดยกฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ดังต่อไปนี้)
    ข้อ 10 ทวิ
        อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีโถง ภายในอาคาร เป็นช่อง เปิดทะลุ พื้นของอาคาร ตั้งแต่ สองชั้นขึ้นไป และ ไม่มีผนังปิดล้อม ต้องจัดให้มี ระบบควบคุม การแพร่กระจาย ของควัน ทีสามารถ ทำงานได้ โดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ทั้งนี้ เพื่อระบายควัน ออกสู่ ภายนอกอาคาร ได้อย่างรวดเร็ว
         (5) การขับเคลื่อนอากาศ ของระบบปรับภาวะอากาศ ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
             (ก) มีสวิตซ์พัดลม ของระบบ การขับเคลื่อนอากาศ ที่ปิดเปิดด้วยมือ ติดตั้งในที่ ที่เหมาะสม และ สามารถปิดสวิตซ์ ได้ทันที เมื่อเกิดเพลิงไหม้
             (ข) ระบบปรับภาวะอากาศ ที่มีลมหมุนเวียน ตั้งแต่ 50 ลูกบาศก์เมตร ต่อนาทีขึ้นไป ต้องติดตั้ง อุปกรณ์ตรวจจับควัน หรือ อุปกรณ์ตรวจสอบ การเกิดเพลิงไหม้ ที่มีสมรรถนะ ไม่ด้อยกว่า อุปกรณ์ตรวจจับควัน ซึ่งสามารถบังคับ ให้สวิตซ์ หยุดการทำงาน ของระบบได้ โดยอัตโนมัติ
        ทั้งนี้ การออกแบบ และ ควบคุมการติดตั้ง ระบบปรับภาวะอากาศ และ ระบบระบายอากาศ ในอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องดำเนินการ โดยผู้ได้รับ ใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม ตั้งแต่ประเภท สามัญวิศวกรขึ้นไป ตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม  ... อ่านต่อ



  • Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.