| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 320 ท่าน 
FreeSplanS MENU
L i n k E x c h a n g e

Link to us!!!
Link to US!!!



 

Building Laws

 

กลับสู่หน้า กฏหมายควบคุมอาคาร กฏหมายควบคุมอาคาร

กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) เรื่อง อาคารสูง ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

| กฏหมายอาคารสูง1 | กฏหมายอาคารสูง2 | กฏหมายอาคารสูง3 | กฏหมายอาคารสูง4 |
| กฏหมายอาคารสูง5 |
 

     บางส่วนของกฎหมายถูกยกเลิก / แก้ไข / เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 42 , 50 ซึ่ง  ได้แทรกไว้ในที่นี้แล้ว

  • หมวด 6 ระบบลิฟต์
        ข้อ 43 ลิฟต์โดยสาร และ ลิฟต์ดับเพลิง แต่ละชุด ที่ใช้กับอาคารสูง ให้มีขนาด มวลบรรทุก ไม่น้อยกว่า 630 กิโลกรัม
    ข้อ 44
        อาคารสูง ต้องมีลิฟต์ดับเพลิง อย่างน้อยหนึ่งชุด ซึ่งมีรายละเอียด อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
         (1) ลิฟต์ดับเพลิง ต้องจอดได้ทุกชั้น ของอาคาร และ ต้องมี ระบบควบคุมพิเศษ สำหรับ พนักงานดับเพลิง ใช้ขณะเกิดเพลิงไหม้ โดยเฉพาะ
         (2) บริเวณห้องโถง หน้าลิฟต์ดับเพลิง ทุกชั้น ต้องติดตั้ง ตู้สายฉีดน้ำดับเพลิง หรือ หัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง และ อุปกรณ์ดับเพลิงอื่น ๆ
         (3) ห้องโถง หน้าลิฟต์ดับเพลิงทุกชั้น ต้องมีผนัง หรือ ประตู ที่ทำด้วยวัตถุทนไฟ ปิดกั้นมิให้เปลวไฟ หรือ ควัน เข้าได้ มีหน้าต่าง เปิดออกสู่ภายนอกอาคาร ได้โดยตรง หรือ มีระบบอัดลม ภายในห้องโถง หน้าลิฟต์ดับเพลิง ที่มีความดันลม ขณะใช้งาน ไม่น้อยกว่า 3.86 เมกะปาสกาลมาตร และ ทำงานได้โดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดเพลิงไหม้
        (แก้ไข ข้อ 44(3) โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ดังต่อไปนี้)
        ห้องโถง หน้าลิฟต์ดับเพลิงทุกชั้น ต้องมีผนัง หรือ ประตู ที่ทำด้วยวัตถุทนไฟ ปิดกั้นมิให้เปลวไฟ หรือ ควัน เข้าได้ มีหน้าต่าง เปิดออกสู่ภายนอกอาคาร ได้โดยตรง หรือ มีระบบอัดลม ภายในห้องโถง หน้าลิฟต์ดับเพลิง ที่มีความดันลม ขณะใช้งาน ไม่น้อยกว่า 3.86 ปาสกาลมาตร ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดเพลิงไหม้
         (4) ระยะเวลา ในการเคลื่อนที่ อย่างต่อเนื่อง ของลิฟต์ดับเพลิง ระหว่างชั้นล่างสุด กับ ชั้นบนสุด ของอาคาร ต้องไม่เกิน หนึ่งนาที
        ทั้งนี้ ในเวลาปกติ ลิฟต์ดับเพลิง สามารถใช้ เป็นลิฟต์โดยสารได้
    ข้อ 45
        ในปล่องลิฟต์ ห้ามติดตั้ง ท่อสายไฟฟ้า ท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ และ อุปกรณ์ต่าง ๆ เว้นแต่ เป็นส่วนประกอบ ของลิฟต์ หรือ จำเป็นสำหรับ การทำงาน และ การดูแลรักษาลิฟต์
    ข้อ 46
        ลิฟต์ต้องมีระบบ และ อุปกรณ์ การทำงาน ที่ให้ความปลอดภัย ด้านสวัสดิภาพ และ สุขภาพ ของผู้โดยสาร ดังต่อไปนี้
         (1) ต้องมีระบบการทำงาน ที่จะให้ลิฟต์ เลื่อนมาหยุด ตรงที่จอด ชั้นระดับดิน และ ประตูลิฟต์ ต้องเปิดโดยอัตโนมัติ เมื่อไฟฟ้าดับ
         (2) ต้องมีสัญญาณเตือน และ ลิฟต์ต้องไม่เคลื่อนที่ เมื่อบรรทุกเกินพิกัด
         (3) ต้องมีอุปกรณ์ ที่จะหยุดลิฟต์ ได้ในระยะที่กำหนด โดยอัตโนมัติ เมื่อตัวลิฟต์ มีความเร็ว เกินพิกัด
         (4) ต้องมี ระบบป้องกัน ประตูลิฟต์ หนีบผู้โดยสาร
         (5) ลิฟต์ต้องไม่เคลื่อนที่ เมื่อประตูลิฟต์ ปิดไม่สนิท
         (6) ประตูลิฟต์ต้องไม่เปิด ขณะลิฟต์เคลื่อนที่ หรือ หยุดไม่ตรงที่จอด
         (7) ต้องมี ระบบการติดต่อ กับกับภายนอกห้องลิฟต์ และ สัญญาณแจ้งเหตุขัดข้อง
         (8) ต้องมีระบบแสงสว่างฉุกเฉิน ในห้องลิฟต์ และ หน้าชั้นที่จอด
         (9) ต้องมีระบบการระบายอากาศ ในห้องลิฟต์ ตามที่กำหนดในข้อ 9 (2)
    ข้อ 47
        ให้มีคำแนะนำ อธิบายการใช้ การขอความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือ และ ข้อห้ามใช้ ดังต่อไปนี้
         (1) การใช้ลิฟต์ และ การขอความช่วยเหลือ ให้ติดไว้ในห้องลิฟต์
         (2) การให้ความช่วยเหลือ ให้ติดไว้ ในห้องจักรกล และ ห้องผู้ดูแลลิฟต์
         (3) ข้อห้ามใช้ลิฟต์ ให้ติดไว้ ที่ข้างประตูลิฟต์ ด้านนอก ทุกชั้น
    ข้อ 48
        การควบคุม การติดตั้ง และ ตรวจสอบระบบลิฟต์ ต้องดำเนินการ โดยวิศวกรไฟฟ้า หรือ วิศวกรเครื่องกล ซึ่งเป็น ผู้ได้รับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม ตั้งแต่ ประเภทสามัญวิศวกร ขึ้นไป ตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม
    ข้อ 49
        การก่อสร้าง ดัดแปลง หรือ เปลี่ยนการใช้ อาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่ได้ยื่นคำขออนุญาต หรือ ได้รับอนุญาต ตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคาร ไว้แล้ว ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ ใช้บังคับ ให้ได้รับยกเว้น ไม่ต้องปฏิบัติ ตามกฎกระทรวงนี้
         (เพิ่มเติม ข้อ 50 โดยกฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามข้อต่อไปนี้)
    ข้อ 50
        อาคารที่ได้รับยกเว้น ตามข้อ 49 ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ หรือ ได้ก่อสร้าง เสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าประสงค์ จะขออนุญาต แก้ไขแบบแปลน ในส่วน ที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง หรือ จะขออนุญาต ดัดแปลง หรือ เปลี่ยนการใช้อาคาร หรือ แจ้งการขอ ดัดแปลงอาคาร ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และ ดำเนินการ ตามมาตรา 39 ทวิ แล้วแต่กรณี ให้ผิดไป จากที่ได้รับ อนุญาต ให้กระทำได้ และ ได้รับยกเว้น ไม่ต้องปฏิบัติ ตามกฎกระทรวงนี้ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
         (1) จัดให้มีระบบ ระบายอากาศ ระบบไฟฟ้า และ ระบบป้องกันเพลิงไหม้ ตามหมวด 2 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 18 ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 22 ข้อ 23 ข้อ 24 ข้อ 25 ข้อ 26 ข้อ 27 และ ข้อ 29 และ ระบบลิฟท์ ตามหมวด 6 ข้อ 44 (1) (2) และ (4)
         (2) ไม่เป็นการ เพิ่มพื้นที่อาคาร รวมกันทุกชั้น เกินร้อยละสอง ของพื้นที่อาคาร รวมกันทุกชั้น ที่ได้รับอนุญาต ไว้ในครั้งแรก
         (3) ไม่เป็นการเพิ่มความสูง ของอาคาร
         (4) ไม่เป็นการ เพิ่มพื้นที่คลุมดิน
         (5) ไม่เป็นการเปลี่ยนตำแหน่ง หรือ ขอบเขต ของอาคาร ให้ผิดไปจาก ที่ได้รับ อนุญาต ไว้ในครั้งแรก
        ทั้งนี้ การออกแบบ และ คำนวณอาคาร ต้องดำเนินการ โดยผู้ได้รับ ใบอนุญาต ให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม ประเภท วุฒิวิศวกร ตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพ วิศวกรรม และ ต้องไม่เป็น ผู้ได้รับ การแจ้งเวียนชื่อ ตามมาตรา 49 ทวิ
        (เพิ่มเติม ข้อ 51 โดยกฏกระทรวง ฉบับที่ 50 พ.ศ.2540 ตามข้อต่อไปนี้)
    ข้อ 51
        อาคารที่ได้รับยกเว้น ตามข้อ 49 เฉพาะกรณี อาคารที่ได้รับอนุญาต ให้ก่อสร้างแล้ว แต่ยังไม่ได้ก่อสร้าง และ ใบอนุญาต ยังไม่สิ้นอายุ หรือ ได้รับ การต่ออายุ ใบอนุญาต ให้กระทำได้ และ รับยกเว้น ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
         (1) จัดให้มี ระบบระบายอากาศ ระบบไฟฟ้า และ ระบบป้องกันเพลิงไหม้ ตามหมวด 2 และ ระบบลิฟท์ ตามหมวด 6
         (2) ไม่เป็นการ เพิ่มพื้นที่อาคาร รวมกันทุกชั้น เกินร้อยละสอง ของพื้นที่อาคาร รวมกันทุกชั้น ที่ได้รับอนุญาต ไว้ในครั้งแรก
         (3) ไม่เป็นการ เพิ่มความสูง ของอาคาร
         (4) ไม่เป็นการ เพิ่มพื้นที่ปกคลุมดิน
         (5) ไม่เป็นการ เปลี่ยนตำแหน่ง หรือ ขอบเขต ของอาคาร ให้ผิดไปจาก ที่ได้รับอนุญาต ไว้ในครั้งแรก

        ให้ไว้ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535
        พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี
        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

        หมายเหตุ
        เหตุผล ในการประกาศใช้ กฎกระทรวง ฉบับนี้ คือ เนื่องจาก ในปัจจุบัน ได้มี การก่อสร้าง อาคารสูง และ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ เพื่อใช้ประโยชน์ ในการอยู่อาศัย หรือ ประกอบกิจการ ประเภทเดียว หรือ หลายประเภทรวมกัน เพิ่มมากขึ้น โครงสร้าง และ อุปกรณ์ อันเป็น ส่วนประกอบ ของอาคาร จะแตกต่างกันไป ตามประเภท ของการใช้ สมควรควบคุมอาคารสูง และ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ โดยเฉพาะ เพื่อประโยชน์ แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และ การอำนวยความสะดวก แก่การจราจร ตลอดจน การวางแผน การพัฒนา ด้านสาธารณูปโภค ของรัฐ จึงจำเป็น ต้องออกกฎกระทรวงนี้
        ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 11 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2535



  • Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.