คำว่า บ้านที่ดี ไม่ได้หมายความว่าเป็นบ้านที่สวยอย่างเดียวนะครับ แต่ตั้งแต่ผมเรียนออกแบบมาครูบาอาจารย์ย้ำมาเสมอว่าคนที่อยู่ในบ้านต้อง อยู่สบาย ด้วย คือไม่ใช่ว่า บ้านสวยมาก แต่ว่าผู้ใช้ในบ้านกลับไม่มีความสุข ต้องพบกับปัญหาตลอดเวลา เช่น บ้านร้อน ไม่มีลม หลังคารั่ว กลัวหน้าฝน อยู่ไปกังวลไป อันนี้ก็เป็นทุกข์ครับ ฉะนั้น จะออกแบบบ้านแต่ละหลังต้องคิดถึงการดูแล และปัญหาที่จะตามมาด้วยครับ
คุณเคยเห็นโฆษณาตัวนี้ไหมครับ เรื่องราวบอกเล่าเรื่องปัญหาบ้านหลังคารั่วได้ดีมากๆ ผมดูแล้วยังคิดถึงสมัยเด็ก ตอนอยู่บ้านคุณตาที่ต่างจังหวัดฝนตกหนักๆ ทีไรมีต้องวิ่งหากะละมังกันสนุกสนาน ดูแล้วผมเลยเกิดความอยากหาข้อมูลเรื่องการดูแลปัญหาบ้านรั่วซึมมาฝากกัน.
![]() |
Credit : ภาพยนตร์โฆษณาจากเวเบอร์. |
ปัญหาเรื่องการรั่วซึมของน้ำในบ้านเป็นปัญหาปกติสำหรับคนไทยเพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อนชื้นดังนั้นปัญหาเรื่องรั่วๆ ซึมๆ จึงเกิดได้ง่ายๆ
ปัญหานี้หลอกหลอนคนไทยมานานครับ เพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อนชื้น ฝนตกชุกตลอดปี และวัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้ก็จะเป็นคอนกรีตเสียส่วนใหญ่ ทีนี้ละครับ ปัญหามาแน่ครับถ้ามีน้ำมาทักทายบ้านคุณมากๆและบ่อยๆครับ เพราะอะไรครับ
เพราะเจ้าคอนกรีตเนี่ย มันมีรูพรุนอยู่ภายใน ตรงไหนที่มีน้ำ หรือโดนน้ำบ่อยๆ น้ำก็จะค่อยๆซึมเข้ามาตามคอนกรีต หรือรอยต่อของผนังครับ และก็เข้ามาให้บ้านคุณมีคราบเหลืองบนผนัง หรือถ้าเป็นผนังวอลเปเปอร์สวยๆของคุณนั้นก็จะหลุดร่อนเป็นแผ่นๆ เลยครับ หรือเจ้าน้ำอาจจจะแอบมาทางโครงหลังคา ดาดฟ้า ฝ้าเพดานคุณก็จะบวม เป็นรอยดำ และเสียหายในที่สุด
บางท่านก็แก้ปัญหาง่ายๆ เช่นเอาถังน้ำไปรอง เอาผ้าไปซับ แต่นั้นก็เป็นการแก้ปัญหาชั่วคราวเท่านั้น ครั้นจะไปจ้างช่างก็ไม่ใช่หาง่ายๆ อีกทั้งก็มีค่าแรงสูงเหมือนกัน แต่ว่าเราทำเองได้ครับ ย้ำว่า เราทำเองได้ ไม่ใช่สิ่งยุ่งยากอะไรเลยครับ ซึ่งผมได้ถามช่างที่เคยทำงานให้ผม เขาขอแค่อุปกรณ์ 4 อย่างง่ายๆเลย คือ
- เวเบอร์. ดราย ซีล ตราตุ๊กแก
- เวเบอร์. เทป บีอี 14 (BE14) ตราตุ๊กแก ตัวนี้เป็นเทปกันซึมได้ 100 % ยืดหยุ่นสูงและกันน้ำได้ดีครับ
- แปรงทาสี
- เกรียง
ทำไมต้อง เวเบอร์. ดราย ซีล ตราตุ๊กแก?
ที่ผมแนะนำเป็นตัวนี้เนื่องจาก เวเบอร์. ดราย ซีล ตราตุ๊กแกมีส่วนผสมของเนื้ออะครีลิคมากกว่า 75% ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีความยืดหยุ่นสูง6เท่า มีความละเอียดและกันน้ำได้ดีมากกว่ายี่ห้ออื่น และสะดวกง่ายเพราะสามารถแกะมาใช้งานได้เลยไม่ต้องผสมน้ำเองให้ยุ่งยากครับ เนื่องจากว่าการจะทำกันซึมนั้นถ้าเราผสมผิดสัดส่วนจะทำให้คุณภาพของกันซึมลดลงได้ครับ นอกจากนี้ เวเบอร์. ดราย ซีล ยังมีคุณสมบัติที่ดีในเรื่องของการทนต่อรังสีUVสะท้อนความร้อนและลดอุณหภูมิในบ้านที่ได้มาตรฐานการผลิตระดับโลกและรางวัลการันตีด้วยรางวัลมาตรฐานระดับโลกมากมายและเป็นรายแรกๆ ที่ได้รับรางวัล Low VOC ที่ผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้อยู่อาศัย
ทีนี้เรามาดูขั้นตอนการทากันซึมในจุดต่างๆ กันเลยครับผมแนะนำให้ทำความสะอาดส่วนที่เราจะทากันซึมก่อนนะครับ อาจจะใช้เกรียงขัดรอยแตกร้าวออกก่อนและใช้แปรงปัดเศษผงให้รอยร้าวสะอาดก่อนการทากันซึมนะครับ เพื่อให้กันซึมเข้าไปอุดรอยรั่ว รอบร้าวได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการรั่วซึมของน้ำในแต่ละที่ของบ้านก็มีรายละเอียดแตกต่างกันไปเล็กน้อย ผมจะแยกเป็น 2 เคสหลักๆนะครับ
1 รั่วจากด้านบน
ก็อาจจะเป็นจากดาดฟ้า หลังคา รอยต่อระหว่างพื้นและผนังที่ไม่ได้ทำกันซึมไว้ตั้งแต่ทีแรก หรือจะเป็นรอยรั่วจากห้องน้ำชั้นบน ก็ใช้วิธีเดียวกันครับ ตามสูตรง่ายๆ ในรูปนี้ครับ
![]() |
ที่มารูปภาพ : www.weberthai.com |
1) ให้ทำความสะอาดส่วนที่จะทากันซึมก่อน
2) หลังจากนั้น ใช้เวเบอร์. ดราย ซีล ผสมน้ำ ในอัตราส่วน 1:4 <<ทาเป็นรองพื้น และรอให้แห้งก่อน
3) ทำการทาน้ำยารองพื้น
4) จากนั้นใช้ตาข่ายเสริมแรง เวเบอร์. เทป บีอี14 แปะทับตรงรอยต่อหรือรอยรั่วที่ทากันซึมไว้ ไม่ต้องกังวลนะครับเพราะ เวเบอร์. เทป บีอี14 สามารถทนน้ำและแดดได้อย่างดี ทนแดดจากหลังคาตลอดวันได้สบายครับ
5) ขั้นตอนสุดท้ายนะครับ รอให้แห้งจึงทากันซึม เวเบอร์. ดราย ซีล อีกครั้งให้ได้ความหนาประมาณ 2 มม. ครับ โดยเมื่อแห้งแล้วจะปูกระเบื้องทับหรือจะปล่อยเปลือยก็ได้ครับ
2 น้ำรั่วซึมตามรอยแยกระหว่างผนัง
การรั่วซึมแบบนี้น้ำจะเข้าไปทางรอยแยกที่เกิดจากผนังครับ บริเวณอื่นๆ เช่น ท่อน้ำ ตะขอยึด ท่อระบายน้ำ ก็เสี่ยงต่อการเกิดรอยร้าว ทำให้น้ำรั่วซึมได้เช่นกัน.
![]() |
ที่มารูปภาพ : www.weberthai.com |
บางท่านกังวลว่าต้องรื้อผนังใหม่ หรือ ต้องเซาะปูนออกมาใหม่ ไม่ถึงขนาดนั้นนะครับ อะครีลิคกันรั่วซึม เวเบอร์. ดราย ซีล ตราตุ๊กแก ก็แก้ไขได้เองครับ บ้านรั่วแก้ได้ครับ ขั้นตอนวิธีการดังนี้ครับ
1) ให้ใช้เกรียงทำความสะอาดรอยปูนให้เรียบ และใช้แปรงปัดฝุ่นออก
2) จากนั้นใช้เกรียงแซะฝุ่นในร่องออกให้ดี แล้วค่อยรองพื้นด้วย เวเบอร์. ดราย ซีล ที่เจือจางน้ำแล้ว ก็เป็นอันเสร็จสิ้น
3) ใช้ตาข่ายเสริมแรงติดตรงที่บริเวณรอยแยกเล็กๆ แต่ถ้าเป็นรอยใหญ่แนะนำให้ใช้เวเบอร์. เทป บีอี14 จะได้ประสิทธิภาพดีกว่าครับ แล้วจากนั้นเราก็ทาทับด้วย เวเบอร์. ดราย ซีล อีก 2 รอบโดยรอให้รอบแรกแห้งสนิทแล้วจึงทารอบที่ 2 ทับลงไปนะครับ จากนั้นเมื่อรอบที่ 2 แห้งสนิทแล้วจะปล่อยเปลือยหรือจะทาสีใหม่ทับเลยก็ได้ครับ
จากที่กล่าวมาทั้งสองวิธีเป็นวิธีที่ไม่ยากเลยครับ เราสามารถทำได้เอง อย่าปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้เรื้อรังไปนาน ซึ่งอาจจะเกิดปัญหากับโครงสร้างของบ้านได้ ซึ่งถ้าหากมีปัญหาหรืออยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้การรั่วซึม แบบที่ผมนำมาเล่าสู่กันฟังนั้นสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.weberthai.com แล้วจะเลิกกังวลกับปัญหาเกี่ยวกับบ้านไปได้เยอะครับ ผมรับรอง
5/9/2014
อุปกรณ์ตกแต่งต่างๆ