| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 10 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 21-11-2559    อ่าน 1470
 วิพากษ์ "ม.49 ทวิ" สรรพากร รัฐเช็กบิลภาษีรายได้ "แลนด์ลอร์ด-บ้านมือสอง"

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2559 เห็นชอบตามข้อเสนอของกรมสรรพากร ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 49 ทวิ ล่าสุด การขอแก้ไขกฎหมายอยู่ระหว่างบรรจุวาระเข้าสู่การพิจารณาของ "สนช.-สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" ซึ่งหมายถึงใกล้เคียงความเป็นจริงที่จะถูกนำออกมาบังคับใช้ในอนาคตอันใกล้นี้

ปลดล็อกภาษีบุคคล

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากร กำลังขอแก้ไขกฎหมายภายใต้มาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่...) พ.ศ. ...สาระสำคัญกำหนดให้การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการโอนทรัพย์สินหรือที่ดิน ให้กรมสรรพากรสามารถเรียกเก็บได้จาก 2 กรณี คือ 1.คำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีจากราคาประเมินของทางราชการ กับ 2.คำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีตามราคาซื้อขายจริง

เนื่องจากปัญหาที่ผ่านมา กฎหมายสรรพากรระบุแนวทางปฏิบัติให้คำนวณเงินได้เพื่อเรียกเก็บภาษีการโอนทรัพย์สิน โดยฐานการคำนวณให้ใช้ราคาประเมินเพียงอย่างเดียว ในขณะที่การเสียภาษีโอนกรรมสิทธิ์ทั้งที่ดินและทรัพย์สิน บางรายการเห็นได้ชัดเจนว่ามีราคาสูงกว่าราคาประเมินนั่นเอง

ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมในการเรียกเก็บภาษี จึงต้อง "ปลดล็อก" กฎหมายสรรพากรให้สามารถเรียกเก็บภาษีได้ทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับแบบไหนจะมีฐานภาษีสูงกว่ากัน โดยรายได้ภาษีที่เพิ่มขึ้นในอนาคตจะถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไป

แลนด์ลอร์ดงง-ซื้อขายชะงัก

การปรับปรุงกฎหมายภาษีครั้งนี้แน่นอนว่าย่อมส่งแรงกระเพื่อมต่อวงการอสังหาริมทรัพย์ไม่มากก็น้อย"ประชาชาติธุรกิจ"สอบถามข้อคิดเห็น3สมาคมอสังหาริมทรัพย์ถึงผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นส่วนใหญ่ชี้เป้าผู้รับผลกระทบอันดับต้นๆน่าจะเป็นธุรกรรมของเจ้าของที่ดินและบ้านมือสองเนื่องจากถูกเก็บภาษีสูงขึ้น

"อธิป พีชานนท์" นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร มองว่าราคาที่ดินอาจถูกปรับขึ้นจากความกังวลใจของแลนด์ลอร์ดที่เกรงว่าถูกเก็บภาษีสูงขึ้น เพราะราคาซื้อขายจริงอาจสูงกว่าราคาประเมิน 10-50% แล้วแต่ทำเล ทำให้ช่วงที่ผ่านมามีการชะงักงันของการซื้อขายที่ดิน เพราะแลนด์ลอร์ดต้องการรอความชัดเจนของกฎหมายนี้ การดีลซื้อขายอาจยากขึ้นในระยะนี้

"บริษัทอสังหาฯต้องเตรียมตัวเรื่องการซื้อที่ดินใหม่ ต้นทุนที่ดินอาจสูงขึ้น แต่ผลกระทบที่แรงกว่ามาจากกฎหมายอีกตัวคือ กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะบังคับใช้ในปีหน้า เชื่อว่าเป็นแรงผลักดันให้แลนด์ลอร์ดต้องการขายที่ดินมากกว่าเก็บไว้"



แนะรัฐโฟกัสบุคคลต่อบุคคล

"พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์" นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย บอกว่า ในกรณีบุคคลธรรมดาขายที่ดินให้บริษัทมหาชน เชื่อว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาษีจากราคาซื้อขายจริงได้ เพราะบริษัทมหาชนจำเป็นต้องแสดงบัญชีที่ถูกต้องให้ผู้ถือหุ้นตรวจสอบได้ ถ้าหากลงบัญชีต้นทุนว่ามีการซื้อที่ดินในมูลค่าต่ำ ปลายทางจะถูกมองว่าได้กำไรสูง ทำให้บริษัทต้องเสียภาษีเงินได้สูงขึ้น แต่ถ้าขายให้กับบริษัทจำกัดนอกตลาดมีความเป็นไปได้ที่พยายามหลบเลี่ยง

"ปกติเจ้าของที่ดินย่อมต้องการเสียภาษีมูลค่าต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ อาจเป็นเงื่อนไขในการขายที่จะต้องตกลงแสดงราคาซื้อขายเท่าราคาประเมินจากกรมธนารักษ์จึงจะยอมขายให้ ซึ่งบริษัทจำกัดเมื่อต้องการที่ดินอาจยอมตามเงื่อนไขและใช้การตกแต่งบัญชีคิดต้นทุนส่วนอื่นทดแทน เพื่อให้ดูมีกำไรน้อยลง แต่ส่วนตัวมองว่าเป็นการกระทำที่ไม่คุ้มค่า ไม่ควรทำ" นายพรนริศกล่าว

ในขณะที่มองว่า จุดโฟกัสที่อาจมีการเลี่ยงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามากที่สุดคือ การซื้อขายในรูปแบบบุคคลต่อบุคคล เพราะบุคคลไม่จำเป็นต้องแสดงบัญชีเหมือนบริษัท ทำให้การตกลงจ่ายเงินเป็น 2 ชุดย่อมทำได้ อาจทำให้กรมสรรพากรไม่สามารถตรวจสอบละเอียดถึงการเข้า-ออกเงินในบัญชีออมทรัพย์ได้ จุดนี้จึงอาจยังเป็นช่องว่างอยู่



เป็นตัวเร่งขาย-โอนที่ดิน

"ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต" นายกสมาคมอาคารชุดไทย มองต่างมุมว่า การปรับแก้ ม.49 ทวิน่าจะทำให้แลนด์ลอร์ดที่มีความต้องการขายที่ดินอยู่แล้วเร่งขายที่ดินให้ได้ก่อนสิ้นปี หรือก่อนกฎหมายใหม่ทั้ง ม.49 ทวิ และกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกมาบังคับใช้ เพราะมีผลกระทบทำให้แลนด์ลอร์ดเสียภาษีมากขึ้น โดยเฉพาะที่ดินกลางเมืองราคาแพง ที่สำคัญ ราคาซื้อขายจริงสูงกว่าราคาประเมินมาก

"ฝากถึงรัฐบาลว่าการแก้ไขกฎหมายภาษีจำนวนมากกระทบต่อธุรกิจอสังหาฯอย่างมากการเก็บภาษีควรมองภาพรวมเป็นองคาพยพไม่ใช่การมองแยกเป็นคนละส่วนต่างคนต่างปรับแก้ผลสุดท้ายภาระภาษีตกกับลูกค้าโดยเฉพาะผู้มีรายได้ปานกลาง"

แนะวิธีเก็บภาษีจูงใจคนจ่าย

"อิสระบุญยัง"นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรร่วมแจมมุมมองว่า กรณีมีข้อกังวลในการซื้อขายบ้านมือสองนั้น บุคคลธรรมดาไม่น่าจะถูกกระทบมาก เพราะตามปกติโครงการจัดสรรใหม่ที่กำลังจะโอนถูกประเมินราคารายโครงการโดยไม่ต้องรอครบรอบ 4 ปีในการปรับราคาประเมินของกรมธนารักษ์ โดยหมู่บ้านจัดสรรถูกประเมินจากกรมที่ดิน คอนโดมิเนียมถูกประเมินโดยกรมธนารักษ์ จึงใกล้เคียงราคาซื้อขายจริง ทำให้ผลต่างเมื่อปรับแก้กฎหมายใหม่ไม่ต่างจากเดิมมาก

ข้อแนะนำที่น่าสนใจฝากถึงรัฐบาลว่า หากต้องการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดาจากการโอนทรัพย์สินให้มีความเป็นธรรม รัฐบาลควรใช้หลักการ Capital Gain (กำไรจากส่วนต่างในการขายทรัพย์สิน) เหมือนต่างประเทศ เช่น ซื้อบ้าน 3 ล้านบาท ขายออก 5 ล้านบาท ให้เก็บภาษีโดยคำนวณจากส่วนต่างกำไร 2 ล้านบาท ไม่ใช่เก็บภาษีจากราคา 5 ล้านบาท

ถ้าหากเปลี่ยนวิธีจัดเก็บคำนวณจาก Capital Gain มองว่าเพิ่มแรงจูงใจให้มีการแสดงราคาแท้จริง โดยรัฐไม่ต้องเปลืองแรงโดยไม่จำเป็น
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 21-11-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.