Last Update 29 December, 2005         
 
     
s i n c e

1 5 J u n 2 0 0 2
 
                 
: : ก ลั บ ห น้ า แ ร ก : :   : : บ ริ ก า ร ข อ ง เ ร า  : :   : : แ บ บ ม า ต ร ฐ า น : :   : : ล ง น า ม ส มุ ด เ ยี่ ย ม : :   : : ติ ด ต่ อ เ ร า : :
B U D D Y H O M E " คู่ หู    คู่ บ้ า น ส ว ย "
 
     ข่ า ว เ ศ ร ษ ฐ กิ จ / ว ง ก า ร ก่ อ ส ร้ า ง
 
I ข่าวทั้งหมด I


 22-04-2558 : บัญญัติ 14 ประการ "ค่ายพฤกษา" (1) บ้าน-ห้องชุดประหยัดพลังงาน ทำได้จริง

เก็บตกจากการนัดสัมภาษณ์พิเศษปีละครั้งกับ "ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์"ผู้บริหารสูงสุดค่ายพฤกษา เรียลเอสเตท ที่ระบุว่าเรื่องใหม่ ๆ ในปีนี้คือคอนเซ็ปต์ "ครีเอต แวลู" เป็นคีย์ซักเซสที่จะทำให้ถึงเป้าหมายรายได้ 1 แสนล้านบาทภายในปี 2562

วันนี้ชวนเจาะลึกคอนเซ็ปต์ "กรีนโฮม" หรือบ้านประหยัดพลังงาน เป็นจุดขายที่จะบอกต่อลูกค้าว่าโปรดักต์พฤกษาฯ ต้องมีคำอธิบายว่าเป็นอสังหาฯ ประหยัดพลังงานไม่ว่าด้านใดก็ด้านหนึ่งจาก 14 เนื้องาน ดังนี้

ออกแบบ-วางผัง-จัดสวนŽ

ข้อแรก "การวางแปลนบ้าน-ดูทิศทางลม" ดวงอาทิตย์โคจรจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกเสมอ ดังนั้น การออกแบบจึงเน้นวาง "หน้าบ้าน" หันไปทางทิศเหนือให้มากที่สุด กับพยายามหันไปทางทิศตะวันตกเพื่อลดทอนการเปิดรับแสงแดดเข้าตัวบ้านให้น้อยที่สุด

วิธีจำง่ายๆก็คือให้หัน "ข้างบ้าน" เข้าหาทิศตะวันออก-ทิศตะวันตกนั่นเอง

เรื่องของทิศทางลม เนื่องจากลมจะพัดมาจากทิศใต้ถึง 9 เดือนใน 1 ปี การออกแบบช่องเปิดลมเข้า ซึ่งก็คือฝั่ง "ทิศตะวันตกเฉียงใต้" จึงเน้นให้มีขนาดใหญ่กว่า หรือเท่ากับช่องเปิดลมออก เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนลมภายในตัวบ้าน

2."ออกแบบภูมิสถาปัตย์เพื่อลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน"เพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบบ้านโดยเลือกปลูกต้นไม้ใหญ่อาทิ ปาล์ม, ต้นหมาก, ปีบ, อินทนิล, สัตบรรณ, สุพรรณิการ์, แคนา เป็นต้น เพื่อให้ร่มเงา ลดแสงสะท้อนจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้าน

เคล็ดลับง่าย ๆ ยังรวมถึงปลูกต้นไม้ทรงสูงเพื่อบังแสงแดด ให้มีลมพัดผ่านใต้พุ่มใบในความเร็วเหมาะสม เพื่อลดอุณหภูมิภายนอกใกล้บริเวณบ้าน หรือการปลูกไม้พุ่มบริเวณผนังบ้านหรือรั้ว เพื่อลดลมร้อนพัดผ่านเข้าตัวบ้าน ทั้งยังช่วยลดความรุนแรงของแสงแดดที่ส่องผิวอาคาร เน้นปลูกต้นไม้ในทิศตะวันตกและทิศใต้เพื่อใช้ร่มเงา กับวางแนวการปลูกต้นไม้บังคับแนวทางลมให้ลู่ผ่านตัวบ้าน

ทั้งหมดนี้ พฤกษาฯ คอนเฟิร์มว่าลดอุณหภูมิที่เข้าตัวบ้านได้ 3-5 องศาเซลเซียส

ระแนง-ช่องเปิด-ชายคา

รู้หรือไม่ 3."ช่องเปิดที่เหมาะสม" ข้อมูลวิจัยพบว่า ช่องเปิดขนาดใหญ่ ๆ อาจทำให้อาคารดูโปร่งโล่งสบาย แต่ถ้ามีมากเกินไปหรือวางตำแหน่งไม่เหมาะสมจะกระทบความเป็นส่วนตัว แถมกลายเป็นตัวการนำความร้อนเข้าสู่อาคารโดยไม่จำเป็นนำไปสู่การฟันธงว่า สัดส่วนที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกสบายตัวที่สุด ควรก่อสร้างให้มีช่องเปิด 35% และมีผนังทึบ 65% การไหลเวียนอากาศในบ้านจะดีที่สุด

4."แผ่นฝ้าชายคาระบายอากาศ" ช่วยระบายอากาศร้อนออกจากโถงหลังคาบ้าน โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนซึ่งบริเวณใต้หลังคาจะเป็นพื้นที่เก็บกักความร้อน คุณสมบัติของวัสดุช่วยลดอุณหภูมิได้มากกว่า 5%

นอกจากจะทำให้บ้านเย็นสบายแล้ว ยังช่วยกันความชื้นจากฝนได้อีกด้วย

5."ระแนงบังแดด ปรับเลื่อนได้" เหมาะมากสำหรับเมืองไทยที่มีแสงแดดแรงเป็นบางช่วงเวลา โดยวางความถี่ของเส้นระแนงให้เหมาะสม คำนึงถึงการไหลเวียนอากาศ และการป้องกันแสงความร้อน

ผลลัพธ์ที่ได้คือ ช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านได้ถึง 30%

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ   22-04-2558 
 

 
 
     Buddy _ L i n k S . . .
 
 
ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง 1
ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง 2
ร้อยพัน ปัญหาในงานก่อสร้าง 3
ร้อยพัน ปัญหาในงานก่อสร้าง 4 ฉบับหมอบ้าน
กฎหมายคลายเส้น
กฎหมาย อ่านง่าย
กฏหมายคลายเส้น บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด
 
 
 
-----[FreeSPlanS.com]-----ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์-----
ศูนย์รวมแบบบ้านมากกว่า 100 แบบ
Tips-Technic การแต่งบ้าน
และอื่นๆอีกมากมาย
 
แลกลิงค์แบนเนอร์ขนาด 88x31 ดู Source Code ข้างล่างครับ
 
<a href="http://www.buddy-home.com" target="_blank"> <img src="http://www.buddy-home.com/image/bannerBuddy-home.gif" border="0" width="88" height="31" alt="www.buddy-home.com คู่ หู คู่ บ้ า น ส ว ย "></a>

www.buddy-home.com  คู่ หู  คู่ บ้ า น ส ว ย

ช่วยเมล์กลับมาแจ้งที่ webmaster@buddy-home.com
 
 
 
 
                 
: : ก ลั บ ห น้ า แ ร ก : :   : : บ ริ ก า ร ข อ ง เ ร า  : :   : : แ บ บ ม า ต ร ฐ า น : :   : : ล ง น า ม ส มุ ด เ ยี่ ย ม : :   : : ติ ด ต่ อ เ ร า : :
                 
ขั้นตอนการเริ่มต้นมีบ้าน
  ความรู้...การประหยัดพลังงาน
ความรู้...งานระบบของบ้าน
  ความรู้...การตกแต่งภายใน
  ความรู้...การจัดสวน
  ออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน
  การออกแบบห้องต่างๆภายในบ้าน
  ประเภทของชุดครัว
  100 เคล็คลับคู่บ้าน
  Download สัญญาสำเร็จรูป
  Download แบบฟอร์มอนุญาต
   
   : : g o t o To p : :