Last Update 29 December, 2005         
 
     
s i n c e

1 5 J u n 2 0 0 2
 
                 
: : ก ลั บ ห น้ า แ ร ก : :   : : บ ริ ก า ร ข อ ง เ ร า  : :   : : แ บ บ ม า ต ร ฐ า น : :   : : ล ง น า ม ส มุ ด เ ยี่ ย ม : :   : : ติ ด ต่ อ เ ร า : :
B U D D Y H O M E " คู่ หู    คู่ บ้ า น ส ว ย "
 
     ข่ า ว เ ศ ร ษ ฐ กิ จ / ว ง ก า ร ก่ อ ส ร้ า ง
 
I ข่าวทั้งหมด I


 01-09-2557 : นานาทรรศนะ "ภาษีมรดก" คนอสังหาฯมีทั้งแบ่งรับ-แบ่งสู้

กำลังเป็นประเด็นฮอตของทุกวงการ รวมถึงนักธุรกิจแวดวงอสังหาริมทรัพย์ เมื่อ "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" มีคำสั่งให้ยกร่าง พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดกและภาษีการรับให้ หรือ "ภาษีมรดก" ที่เรียกเก็บจากที่ดิน เงินฝาก หุ้น หลักทรัพย์

โดยแบ่งการเสียภาษีเป็น 2 กรณี คือ 1) กรณีโอนหลังจากเสียชีวิต เก็บจากผู้รับ (ไม่เก็บจากกองมรดก) โดยมรดก 50 ล้านบาทแรกได้รับยกเว้น, 50-200 ล้านบาท เสียภาษี 10% และ 200 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษี 20% 2) กรณีรับให้ คือการรับโดยผู้รับไม่ได้มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีมรดกกรณีนี้จะต้องเป็นการโอนก่อนเสียชีวิตภายใน 2 ปี แบ่งเป็นมรดก 10 ล้านบาทแรกได้รับยกเว้น, 10-40 ล้านบาท เสียภาษี 10% และ 40 ล้านบาทขึ้นไปเสียภาษี 20%

ขานรับเก็บภาษี

"ประชาชาติธุรกิจ" สำรวจความคิดเห็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 6 คน พบว่ามีทั้งเห็นด้วยและอยากให้ทบทวน เริ่มจาก "อนุพงษ์ อัศวโภคิน" ซีอีโอค่ายเอพี (ไทยแลนด์) ที่ตอบทันควันว่า โดยรวมคงไม่มีใครชอบที่ต้องเสียภาษีเพิ่ม แต่ส่วนตัวไม่คัดค้าน ถ้าจะออกกฎหมายเรียกเก็บภาษีจากมรดก


ชวน ตั้งมติธรรม อิสระ บุญยัง อนุพงษ์ อัศวโภคิน

"ผมพูดซื่อ ๆ เลยนะ กฎหมายออกมาแล้วคนมีมรดกก็ต้องเสียตังค์ ใครจะไปชอบล่ะ แต่ถามว่ารับได้ไหม...รับได้ เพราะมองว่าจะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม กฎหมายอะไรที่ออกมาแล้วทำให้เกิดความเท่าเทียมผมไม่ติด (ใจ) เลยนะ แต่ขอให้บังคับใช้เท่าเทียมกัน และผมเป็นคนหนึ่งที่จะน้อมรับและทำตามกฎหมาย..."

"ชวน ตั้งมติธรรม" เอ็มดีค่ายมั่นคงเคหะการ เป็นอีกคนที่เห็นด้วยกับภาษีมรดก เหตุผลคืออย่างน้อยภาษีที่จัดเก็บก็ถูกนำไปใช้พัฒนาประเทศเป็นประโยชน์กับส่วนรวม แทนที่จะโอนให้ลูก-หลานทั้งหมด

ส่วนการยกเว้นภาษีมรดกไม่เกิน 10 ล้านบาท กรณีโอนให้กับผู้ไม่ใช่ทายาท กับ 50 ล้านบาท กรณีลูกหลานเป็นผู้รับมรดกถือเป็นเรื่องดีเพราะจะช่วยลดภาระผู้ได้รับมรดกที่อาจจะไม่ได้มีฐานะดี ส่วนอัตราภาษีที่จัดเก็บสูงสุด 20% มองว่าครอบครัวที่มีทรัพย์สินเข้าข่ายต้องเสียในอัตราสูงสุด น่าจะจ่ายภาษีไหว

ขณะที่ "ปิยะ ซอโสตถิกุล" กรรมการบริหารเครือซีคอนกรุ๊ปสะท้อนความเห็นว่า ไม่คัดค้านการจ่ายภาษีมรดก และเห็นด้วยที่จะยกเว้นภาษีให้กับผู้ได้รับมรดกไม่เกิน 10 และ 50 ล้านบาท เพราะในยุโรปเคยมีกรณีต้องขายทรัพย์สินเพื่อนำมาจ่ายภาษีมรดกแล้ว ดังนั้น เศรษฐีบางคนเมื่อเสียชีวิตก็จะบริจาคเงินและทรัพย์สินบางส่วนให้กับมูลนิธิ แทนการโอนให้ลูกหลานทั้งหมด

มองต่างมุม...ไม่ต้องรีบร้อน

อย่างไรก็ตาม อีกฝั่งหนึ่งก็มีดีเวลอปเปอร์ที่มองว่าอาจจะยังไม่ถึงเวลาออกกฎหมายภาษีมรดก โดย "ธำรง ปัญญาสกุลวงศ์" เอ็มดีนิรันดร์กรุ๊ป มองว่า อัตราภาษีที่จัดเก็บ 10-20% หรือบางกระแสระบุว่า 5-30% ถือว่าค่อนข้างสูง อาจจะทำให้ประชาชนเกิดความกังวลและนำมาสู่การหาวิธีหลีกเลี่ยงภาษีได้

ส่วน "อิสระ บุญยัง" เอ็มดีกานดา พร็อพเพอร์ตี้ มีความเห็นว่า ไม่ควรเร่งรีบบังคับใช้กฎหมาย แต่ควรค่อย ๆ ทำทีละอย่างเป็นขั้นบันได เท่าที่ทราบปี 2475-2476 รัฐบาลสมัยนั้นเคยออกพระราชกฤษฎีกาเก็บภาษีอากรมรดกและการรับมรดกมาแล้ว และ 10 ปีต่อมา "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" ก็ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ดังนั้น อันดับแรกจึงควรศึกษาในอดีตทำไมจึงยกเลิกการเก็บภาษีอากรมรดก และชี้แจงให้ประชาชนทราบ

ถัดมาคือปัจจุบันผู้รับมรดกเป็นที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ได้รับยกเว้นการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จึงอาจเริ่มจากการเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะก่อน นอกจากนี้ ให้นำมรดกมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี จากปัจจุบันได้รับยกเว้น โดยปีแรกที่จัดเก็บไม่ควรเก็บเต็มมูลค่า 100% ของมรดกที่ได้รับ แต่อาจเริ่มต้นเก็บจากมูลค่า 40-50% ของมูลค่ามรดก แล้วนำมาคำนวณเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเสียภาษี

สุดท้าย "รัตนชัย ผาตินาวิน" เอ็มดีค่ายอีสเทอร์นสตาร์ เรียลเอสเตท สะท้อนมุมมองว่า หากจะเก็บภาษีมรดกเพราะรัฐต้องการจัดเก็บรายได้มากขึ้น มองว่ายังไม่ถึงเวลา เพราะกรณีที่รัฐต้องการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น อาจใช้วิธีขึ้นภาษีสินค้าบางประเภท เช่น บุหรี่ เหล้า ฯลฯ ซึ่งผู้ผลิตหรือนำเข้าสามารถขึ้นราคาสินค้าเพื่อชดเชยต้นทุนภาษีที่เพิ่มขึ้นได้


ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ   01-09-2557 
 

 
 
     Buddy _ L i n k S . . .
 
 
ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง 1
ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง 2
ร้อยพัน ปัญหาในงานก่อสร้าง 3
ร้อยพัน ปัญหาในงานก่อสร้าง 4 ฉบับหมอบ้าน
กฎหมายคลายเส้น
กฎหมาย อ่านง่าย
กฏหมายคลายเส้น บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด
 
 
 
-----[FreeSPlanS.com]-----ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์-----
ศูนย์รวมแบบบ้านมากกว่า 100 แบบ
Tips-Technic การแต่งบ้าน
และอื่นๆอีกมากมาย
 
แลกลิงค์แบนเนอร์ขนาด 88x31 ดู Source Code ข้างล่างครับ
 
<a href="http://www.buddy-home.com" target="_blank"> <img src="http://www.buddy-home.com/image/bannerBuddy-home.gif" border="0" width="88" height="31" alt="www.buddy-home.com คู่ หู คู่ บ้ า น ส ว ย "></a>

www.buddy-home.com  คู่ หู  คู่ บ้ า น ส ว ย

ช่วยเมล์กลับมาแจ้งที่ webmaster@buddy-home.com
 
 
 
 
                 
: : ก ลั บ ห น้ า แ ร ก : :   : : บ ริ ก า ร ข อ ง เ ร า  : :   : : แ บ บ ม า ต ร ฐ า น : :   : : ล ง น า ม ส มุ ด เ ยี่ ย ม : :   : : ติ ด ต่ อ เ ร า : :
                 
ขั้นตอนการเริ่มต้นมีบ้าน
  ความรู้...การประหยัดพลังงาน
ความรู้...งานระบบของบ้าน
  ความรู้...การตกแต่งภายใน
  ความรู้...การจัดสวน
  ออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน
  การออกแบบห้องต่างๆภายในบ้าน
  ประเภทของชุดครัว
  100 เคล็คลับคู่บ้าน
  Download สัญญาสำเร็จรูป
  Download แบบฟอร์มอนุญาต
   
   : : g o t o To p : :