Last Update 29 December, 2005         
 
     
s i n c e

1 5 J u n 2 0 0 2
 
                 
: : ก ลั บ ห น้ า แ ร ก : :   : : บ ริ ก า ร ข อ ง เ ร า  : :   : : แ บ บ ม า ต ร ฐ า น : :   : : ล ง น า ม ส มุ ด เ ยี่ ย ม : :   : : ติ ด ต่ อ เ ร า : :
B U D D Y H O M E " คู่ หู    คู่ บ้ า น ส ว ย "
 
     ข่ า ว เ ศ ร ษ ฐ กิ จ / ว ง ก า ร ก่ อ ส ร้ า ง
 
I ข่าวทั้งหมด I


 20-01-2554 : วรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี เลือดใหม่ "ธอส." ยุค "รุก แรง เร็ว"

17 พฤศจิกายน 2553 วันแรกที่เอ็มดี คนใหม่ "วรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี" เข้ามานั่งทำงานที่ ธอส. (ธนาคารอาคารสงเคราะห์) และเป็นวันแรกที่เขาได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับองค์กรแห่งนี้ใน ฐานะ "เอ็มดีที่อายุน้อยที่สุด" ด้วยวัยเพียง 42 ปี

ผ่านมา 2 เดือน เวลาอาจจะดู ไม่มากนักสำหรับที่ทำงานใหม่ แต่ก็ไม่น้อยสำหรับผู้บริหารที่ผ่านประสบการณ์ 9 ปีเต็มในฐานะหนึ่งในคีย์แมนของแบงก์รัฐอีกแห่งที่ "ธนาคารออมสิน" โดยมีตำแหน่งสุดท้ายเป็น "บอร์ด" แบงก์ออมสิน มาก่อน

บนความรับผิดชอบเก้าอี้เอ็มดี ธอส. 4 ปีเต็มนับจากนี้ มีอะไรให้ทำอีกเยอะ จะเริ่มต้นจากอะไรดี

"แนว โน้มปีนี้กับสิ่งที่ผมมอง การ แข่งขันน่าจะรุนแรงอยู่ คอสต์ไพรซิ่ง อัตราดอกเบี้ยขาขึ้นที่น่าจะขึ้นต่อเนื่อง ในแง่ส่วนแบ่งการตลาดสินเชื่อรายย่อย ธอส.เคยมีสัดส่วน 40% แต่ปลายปี 2553 ที่ผ่านมาเหลือประมาณ 33% ขณะเดียวกัน ธอส.ที่ผ่านมาค่อนข้างจะมีแหล่งระดมทุนจากเงินฝากรายใหญ่เป็นหลัก ด้านสาขาและเคาน์เตอร์จุดต่าง ๆ มี 149 จุดเอง อีก 22 จังหวัดยังไม่มีสาขา เป็นอะไรที่ดูแล้วอาจจะไม่เอื้ออำนวยต่อการแข่งขัน นี่คือภาพปัญหาใหญ่"

ถามถึงแนวโน้มสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์จะบวกหรือลบ

"วรวิทย์" มองว่า การเติบโตของเรียลเอสเตตยังค่อนข้างมีต่อเนื่อง แต่คิดว่าคงไม่สามารถสู้ความร้อนแรงของปีที่ผ่านมาได้จาก 3 ปัจจัยหลัก 1.ดอกเบี้ยขาขึ้น 2.มาตรการ LTV (Loan to Value) ที่คุมการปล่อยสินเชื่อซื้อคอนโดฯราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท จะต้องวางเงินดาวน์ 10% 3.ภาวะเศรษฐกิจในประเทศกับของโลกนั่นคือ "สินเชื่อเคหะปีนี้ยังเติบโต แต่โตในอัตราที่ชะลอตัวลง"

"วรวิทย์" บอกด้วยว่า สิ่งที่ ธอส.จะต้องคิดต่อคือจะปรับกลยุทธ์รับมืออย่างไร

คำ ตอบที่พบคือ อันดับแรก ต้องปรับโครงสร้างทางการเงินให้ต้นทุนมันต่ำลง วิธีการทำก็คงต้องลงไปสู่การระดมเงินฝากรายย่อยมากขึ้น ปัจจุบันมีประมาณ 5% (เทียบกับตลาดที่มี 20%) เป้าใน 2 ปีอยากจะเพิ่มเป็น 10%

"คือผม ค่อนข้างจะมั่นใจ เพราะผมผ่านประสบการณ์มาจากแบงก์รายย่อยจริง ๆ คือประสบการณ์จากแบงก์ออมสิน คุ้นเคยกับการทำแคมเปญ เซฟวิ่งและสินเชื่อรายย่อยค่อนข้างเยอะ"

จังหวะที่เข้ามาทำงาน ธอส.คือกลางเดือนพฤศจิกายน แผนนโยบายต่าง ๆ จึงถูกจัดทำล่วงหน้ามาแล้ว "ผมมาเขาทำแผนจะเปิดสาขาใหม่แค่ 5 สาขาในปี 2554 ดูแล้วไม่มีทางพอ อย่างน้อยต้อง 10-15 สาขา และจะเปลี่ยนวิธีการเปิดสาขาในรูปแบบใหม่ แทนที่จะไปซื้อที่ ทำสาขาต้องขนาดใหญ่เหมือนที่ ธอส.เคยเปิดเกือบทุกแห่ง แต่ละแห่งมี 10-20 คน ผมจะเปลี่ยนใหม่หมด สาขาใหม่ไม่ต้องใหญ่มาก คน 5-6 คนก็พอเพราะทุกวันนี้ใช้ระบบไอทีเข้ามาช่วย และจะไปอยู่ตามห้าง ตามชุมชน เป็นอาคารเช่าสามารถเปิดได้ทันที ใช้เวลาปรับปรุงอย่างมาก 3 เดือนเปิดได้"

ถัด มาคือประเด็นการเข้าถึงจุดบริการของลูกค้า โดยเฉพาะ "ตู้เอทีเอ็ม" ซึ่งพบว่า..."เรื่องนี้ก็เหมือนกัน ตอนนี้มีน้อยมากแค่ 100 กว่าตู้ มันคงไม่พอ คิดว่าอาจจะไปร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ แบงก์รัฐ เป็นสิ่งที่ต้องเร่งทำ และทำทั่วประเทศ"

คอนเน็กชั่นที่มีกำลังจะถูก นำมาใช้ ยกตัวอย่าง แบงก์ออมสินมีเอทีเอ็มมากกว่า 2 พันตู้ ปีใหม่นี้จะซื้อเพิ่มอีกประมาณ 1,500 ตู้ รวมของเก่าของใหม่เฉพาะออมสินจะมีถึง 3,700 ตู้ ยังไม่นับแบงก์รัฐอื่น ๆ อาทิ ธ.ก.ส. (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) น่าจะประมาณ 4-5 พันตู้ "...ถ้าดูทั้งหมดคิดว่าเป็นช่องทางที่น่าจะครอบคลุมได้หมด"

ประเด็น การบริหารหนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ ธอส.มีหนี้ไม่ก่อรายได้หรือ NPL อยู่ 10% ซึ่งสูงมาก เป้าหมายใน 4 ปีของเขาคือกดให้ลดเหลือประมาณ 5%

สำหรับ สินเชื่อใหม่ในปีนี้ แผนตั้งไว้ 94,500 ล้านบาท เทียบกับปี 2553 ที่ตั้งเป้าไว้ 90,000 ล้านบาท แต่คาดว่าจะทำได้จริงประมาณ 98,000 ล้านบาท

อีก เรื่องที่เป็นหัวใจ คือ นโยบาย "ตรึงดอกเบี้ย" สิ่งที่ "วรวิทย์" ให้ข้อผูกพันได้ตอนนี้ คือตรึงถึงสิ้นเดือน มกราคม หลังจากนั้นอยู่ที่ความเหมาะสมครับ

เหลียวกลับมาดูพอร์ตสินเชื่อราย ย่อย ธอส.มี 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มบุคลากรภาครัฐ สินเชื่อสวัสดิการ 60% และลูกค้ารายย่อยทั่วไปอีก 40% ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะต้องได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV

"เรื่องนี้ หารือกระทรวงการคลังอยู่ว่า ลูกค้าของ ธอส.ขอยกเว้นเกณฑ์ LTV ได้ไหม เพราะลูกค้ารายย่อยภาระเยอะจริง ๆ กู้ซื้อบ้านอย่างเดียวไม่พอต้องมีเรื่องเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งด้วย"

ประเด็นการปรับโครงสร้างองค์กรล่ะ "เกิดขึ้นแน่นอน"

คำ ถามต่อเนื่อง...ปรับเล็กหรือปรับใหญ่ คำตอบแบบพบกันครึ่งทาง "จะได้เห็นในครึ่งปีแรก..." โดยยกตัวอย่างคอร์แบงกิ้งจะมีโครงสร้างที่แบ่งงานชัดเจน ที่สำคัญ สายงานจะต้องไม่ไขว้ไปไขว้มา และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในสายงานเดียวกัน

รวม ไปถึงงานพัฒนาบุคลากรที่ต่อไปจะต้องมีการเทรนนิ่งเพื่อ "สร้างทายาท" ในการสืบทอดตำแหน่งหัวหน้างานในองค์กร การหมุนงานเป็นเรื่องจำเป็น

ในฐานะผู้บริหารที่อายุน้อยที่สุด เป็นความกดดันหรือความท้าทาย

"ผม ไม่มีความกดดัน คิดว่าเป็นความท้าทายมากกว่า เรื่องบุคลากร เรื่องการบริหารผมมั่นใจสุดขีดเลยนะ เพราะจุดแข็งของผมจริง ๆ เป็นการบริหารบุคคล ผมสามารถนำพาเพื่อนร่วมทีมและมีอาวุโสมากกว่าผมทั้งหมด เอาเป็นว่าผมไหว้ได้ทุกคนตั้งแต่ผู้จัดการถึงสหภาพ"

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ  20-01-2554 
 

 
 
     Buddy _ L i n k S . . .
 
 
ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง 1
ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง 2
ร้อยพัน ปัญหาในงานก่อสร้าง 3
ร้อยพัน ปัญหาในงานก่อสร้าง 4 ฉบับหมอบ้าน
กฎหมายคลายเส้น
กฎหมาย อ่านง่าย
กฏหมายคลายเส้น บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด
 
 
 
-----[FreeSPlanS.com]-----ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์-----
ศูนย์รวมแบบบ้านมากกว่า 100 แบบ
Tips-Technic การแต่งบ้าน
และอื่นๆอีกมากมาย
 
แลกลิงค์แบนเนอร์ขนาด 88x31 ดู Source Code ข้างล่างครับ
 
<a href="http://www.buddy-home.com" target="_blank"> <img src="http://www.buddy-home.com/image/bannerBuddy-home.gif" border="0" width="88" height="31" alt="www.buddy-home.com คู่ หู คู่ บ้ า น ส ว ย "></a>

www.buddy-home.com  คู่ หู  คู่ บ้ า น ส ว ย

ช่วยเมล์กลับมาแจ้งที่ webmaster@buddy-home.com
 
 
 
 
                 
: : ก ลั บ ห น้ า แ ร ก : :   : : บ ริ ก า ร ข อ ง เ ร า  : :   : : แ บ บ ม า ต ร ฐ า น : :   : : ล ง น า ม ส มุ ด เ ยี่ ย ม : :   : : ติ ด ต่ อ เ ร า : :
                 
ขั้นตอนการเริ่มต้นมีบ้าน
  ความรู้...การประหยัดพลังงาน
ความรู้...งานระบบของบ้าน
  ความรู้...การตกแต่งภายใน
  ความรู้...การจัดสวน
  ออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน
  การออกแบบห้องต่างๆภายในบ้าน
  ประเภทของชุดครัว
  100 เคล็คลับคู่บ้าน
  Download สัญญาสำเร็จรูป
  Download แบบฟอร์มอนุญาต
   
   : : g o t o To p : :