Last Update 29 December, 2005         
 
     
s i n c e

1 5 J u n 2 0 0 2
 
                 
: : ก ลั บ ห น้ า แ ร ก : :   : : บ ริ ก า ร ข อ ง เ ร า  : :   : : แ บ บ ม า ต ร ฐ า น : :   : : ล ง น า ม ส มุ ด เ ยี่ ย ม : :   : : ติ ด ต่ อ เ ร า : :
B U D D Y H O M E " คู่ หู    คู่ บ้ า น ส ว ย "
 
     ข่ า ว เ ศ ร ษ ฐ กิ จ / ว ง ก า ร ก่ อ ส ร้ า ง
 
I ข่าวทั้งหมด I


 29-10-2550 : ไขปัญหาตรวจอาคาร ระดมสมองนักวิชาการก่อนเดดไลน์

คอลัมน์ สดจากเวที


เหลือเวลาเพียง 2 เดือนเศษ อาคารที่เข้าข่ายตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ.2548 (กฎหมายตรวจสอบอาคาร) ประมาณ 2 หมื่นแห่งทั่วประเทศ จะครบกำหนดต้องส่งแบบรายงานการตรวจสอบอาคารภายในเดดไลน์ 29 ธันวาคมนี้แล้ว

เจ้าของอาคาร "ส่วนใหญ่" ต่างรอลุ้นว่าที่สุดแล้วภาครัฐจะยืดระยะเวลาส่งแบบรายงานการตรวจสอบอาคารออกไปจากที่กำหนดไว้หรือไม่

เพราะถึงวันนี้มีอาคารจำนวนมากไม่แน่ใจว่าเข้าข่ายต้องตรวจสอบหรือไม่ หรือบางอาคารไม่มีแบบแปลนทำให้ไม่มั่นใจว่าจะสามารถให้ผู้ตรวจสอบอาคารเข้าไปตรวจสอบได้ทันตามกำหนด

ล่าสุด "มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย" ได้จัดเสวนาในหัวข้อ "2 เดือนสุดท้ายขีดเส้นตายตรวจสอบอาคาร" โดยเชิญวิศวกร นักวิชาการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาไขข้อข้องใจปัญหาต่างๆ ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนถึงเดดไลน์

"L.P.N." แนะเทคนิคตรวจสอบเร็ว

สำหรับการตรวจสอบอาคารครั้งนี้ อาคารประเภท "คอนโดมิเนียม" อยู่ในข่ายที่ต้องตรวจสอบด้วย โดย "จรัญ เกษร" กรรมการผู้จัดการของ "ลุมพินี พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเมนท์" ในเครือของ "แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์" เจ้าตลาดคอนโดฯที่รับบริหารอาคารและชุมชนให้กับโครงการคอนโดฯของ แอล.พี.เอ็น.ฯทั้งหมดบอกว่า ปัจจุบันบริษัทลุมพินีฯมีคอนโดฯที่อยู่ในความดูแลทั้งหมด 108 อาคาร จำนวนประมาณ 2 หมื่นยูนิต คิดเป็นพื้นที่ใช้สอยรวมกัน 1.3 ล้าน ตร.ม. ในจำนวนนี้เป็นอาคารที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบแน่นอนแล้วประมาณ 80 อาคาร ส่วนที่เหลืออีกกว่า 30 อาคารอยู่ระหว่างรอการตีความจากภาครัฐว่าเข้าข่ายหรือไม่

การจะตรวจสอบอาคารให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดจึงถือเป็นงานหนักพอสมควร แต่จากระบบบริหารจัดการที่ดี มีการซ่อมบำรุงอาคารอย่างสม่ำเสมอ และอาคารทุกแห่งมีการซ้อมหนีไฟประจำปี ปีละ 1 ครั้ง เป็นเทคนิคที่ทำให้มั่นใจว่าจะดำเนินการได้ทันเวลาที่เหลืออยู่ 2 เดือนเศษ

ทั้งนี้ อาคารส่วนใหญ่ที่ดูแลอยู่มีข้อมูลการซ่อมบำรุง จึงช่วยร่นระยะเวลาการทำงานของผู้ตรวจสอบอาคารให้สั้นลงได้มาก

"โดยเฉลี่ยคอนโดฯของแอล.พี.เอ็น.ฯที่มีพื้นที่ใช้สอยเฉลี่ย 2 หมื่น ตร.ม. หากมีทีมงานผู้ตรวจสอบอาคาร 4-5 คน จะใช้เวลาตรวจสอบตามเช็กลิสต์เพียง 1-2 วัน จากปกติ 4-7 วัน และการมีอาคารที่อยู่ในความดูแลจำนวนมาก ทำให้บริษัทมีอำนาจต่อรองสูง เฉลี่ยแล้วมีค่าใช้จ่ายเพียง 3-4 บาท/ตร.ม. จากเดิมที่ประมาณการไว้ 5-10 บาท/ตร.ม."

เท่ากับว่ากรณีนี้เป็นอาคารขนาด 2 หมื่น ตร.ม. จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 6-8 หมื่นบาท

ผู้บริหารของบริษัทลุมพินีฯแนะนำว่า การตรวจสอบอาคารคอนโดฯที่ถูกต้องควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความปลอดภัยภายในห้องชุดด้วย เนื่องจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ในคอนโดฯมักมีต้นเพลิงเกิดขึ้นภายในห้องชุดมากกว่าเกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง ผู้บริหารอาคารจึงจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากผู้พักอาศัย

สมาคมบริหารทรัพย์สินฯแจงปัญหา

ด้าน "ธงชัย หวานฉ่ำ" นายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า ปัญหาหลักของการตรวจสอบอาคารเท่าที่พบมี 4 ข้อ คือ 1) กรณีเป็นอาคารเก่าที่ก่อสร้างมานานมักไม่มีแบบแปลนหรือสูญหายไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบอาคารได้ ทางออกคือต้องว่าจ้างสถาปนิกเขียนแบบแปลนอาคารขึ้นใหม่ 2) อาคารบางแห่งไม่มีงบฯตรวจสอบอาคารและการปรับปรุงซ่อมแซมให้ถูกต้องตามกฎหมาย แม้อาคารประเภทคอนโดฯจะมีการจัดเก็บค่าส่วนกลาง แต่โดยเฉลี่ยห้องชุด 20% มักเก็บค่าส่วนกลางได้ล่าช้า

3) อาคารบางประเภทยังมีปัญหาในการตีความว่าเข้าข่ายหรือไม่ อาทิ อาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่เกินกว่า 5 พัน ตร.ม. ได้รับการผ่อนผันไปอีก 5 ปี (เริ่มส่งรายงานตรวจสอบอาคาร 24 ต.ค.2553) อย่างไรก็ตามกรณีเป็นอาคารชุดที่มีพื้นที่เกินกว่า 1 หมื่น ตร.ม. จะถูกจัดเป็น 1 ใน 9 ประเภทอาคารที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบตามกฎกระทรวง และ 4) ความ น่าเชื่อของผู้ตรวจสอบอาคาร เนื่องจากเป็นอาชีพใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น

นักวิชาการฟันธงรัฐต้องผ่อนผัน

ส่วนนักวิชาการอย่าง "อัศวิน พิชญโยธิน" ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายควบคุมอาคาร สะท้อนความเห็นว่าช่วงที่ผ่านมาภาครัฐประชาสัมพันธ์เรื่องนี้น้อยเกินไป จึงมีเจ้าของอาคารอีกจำนวนมากที่ไม่รู้ว่ากำลังจะถึงเดดไลน์ส่งรายงานการตรวจสอบอาคาร

จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ภาครัฐจะผ่อนผันระยะเวลาออกไป เมื่อครบกำหนดวันที่ 29 ธันวาคม 2550 ขณะเดียวกันมีเจ้าของอาคารจำนวนไม่น้อยที่ทราบเรื่อง แต่ยังลังเลอยู่เนื่องจากไม่แน่ใจว่าอาคารของตนเข้าข่ายต้องตรวจสอบหรือไม่ และเชื่อว่าจะมีเจ้าของอาคารหลายรายที่เข้าข่าย "บกพร่องโดยสุจริต" อาทิ ตามกฎหมายระบุว่าอาคารประเภท "โรงงาน" ที่มีความสูงเกินกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5 พัน ตร.ม.ขึ้นไป เข้าข่ายต้องตรวจสอบอาคาร คำถามคือ กรณีที่ปัจจุบันโรงงานดังกล่าวได้กลายสภาพเป็น "โกดัง" ไปแล้วจะเข้าข่ายหรือไม่ !

กรณีนี้ตามหลักกฎหมายถือว่าเข้าข่าย หากว่าช่วงเริ่มแรกได้ขออนุญาตก่อสร้างเป็น "โรงงาน"

เช่นเดียวกับกฎหมายระบุว่า หากเป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ หมายถึงอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1 หมื่น ตร.ม.ขึ้นไป จะเข้าข่ายต้องตรวจสอบ กรณีนี้หากเป็นอาคารที่มีการต่อเติมจนมีพื้นที่ เกินกว่า 1 หมื่น ตร.ม.ก็ถือว่าเข้าข่าย

ส่วนกรณีเป็น "อาคารร้าง" แม้จะมีพื้นที่เกินกว่า 1 หมื่น ตร.ม. จะไม่เข้าข่ายต้องตรวจสอบ เนื่องจากตามกฎหมายถือเป็น "สิ่งปลูกสร้าง" ที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ แต่ไม่ใช่อาคาร

สิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำหรับกฎหมายฉบับนี้ คือ กรณีเป็นอาคารที่ก่อสร้างหลังจากวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2535 ตามกฎหมายระบุให้ต้องมีแหล่งน้ำสำหรับดับเพลิงบริเวณดาดฟ้า โดยสามารถรองรับการดับเพลิงได้นาน 30 นาที หรือคิดเป็นความจุ 30 ตัน (3 หมื่น ก.ก.)

ในทางปฏิบัติหากยึดถือเรื่องนี้รวมอยู่ในการตรวจสอบอาคารทั้งอาคารเก่าและอาคารใหม่ เชื่อว่าอาคารเก่าที่ก่อสร้างก่อนปี 2535 จะไม่ผ่านเกณฑ์นี้ทั้งหมด และอาจกลายเป็นประเด็นที่เป็นจุดถกเถียงกันต่อไป


ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ  29-10-2550 
 

 
 
     Buddy _ L i n k S . . .
 
 
ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง 1
ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง 2
ร้อยพัน ปัญหาในงานก่อสร้าง 3
ร้อยพัน ปัญหาในงานก่อสร้าง 4 ฉบับหมอบ้าน
กฎหมายคลายเส้น
กฎหมาย อ่านง่าย
กฏหมายคลายเส้น บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด
 
 
 
-----[FreeSPlanS.com]-----ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์-----
ศูนย์รวมแบบบ้านมากกว่า 100 แบบ
Tips-Technic การแต่งบ้าน
และอื่นๆอีกมากมาย
 
แลกลิงค์แบนเนอร์ขนาด 88x31 ดู Source Code ข้างล่างครับ
 
<a href="http://www.buddy-home.com" target="_blank"> <img src="http://www.buddy-home.com/image/bannerBuddy-home.gif" border="0" width="88" height="31" alt="www.buddy-home.com คู่ หู คู่ บ้ า น ส ว ย "></a>

www.buddy-home.com  คู่ หู  คู่ บ้ า น ส ว ย

ช่วยเมล์กลับมาแจ้งที่ webmaster@buddy-home.com
 
 
 
 
                 
: : ก ลั บ ห น้ า แ ร ก : :   : : บ ริ ก า ร ข อ ง เ ร า  : :   : : แ บ บ ม า ต ร ฐ า น : :   : : ล ง น า ม ส มุ ด เ ยี่ ย ม : :   : : ติ ด ต่ อ เ ร า : :
                 
ขั้นตอนการเริ่มต้นมีบ้าน
  ความรู้...การประหยัดพลังงาน
ความรู้...งานระบบของบ้าน
  ความรู้...การตกแต่งภายใน
  ความรู้...การจัดสวน
  ออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน
  การออกแบบห้องต่างๆภายในบ้าน
  ประเภทของชุดครัว
  100 เคล็คลับคู่บ้าน
  Download สัญญาสำเร็จรูป
  Download แบบฟอร์มอนุญาต
   
   : : g o t o To p : :