Last Update 29 December, 2005         
 
     
s i n c e

1 5 J u n 2 0 0 2
 
                 
: : ก ลั บ ห น้ า แ ร ก : :   : : บ ริ ก า ร ข อ ง เ ร า  : :   : : แ บ บ ม า ต ร ฐ า น : :   : : ล ง น า ม ส มุ ด เ ยี่ ย ม : :   : : ติ ด ต่ อ เ ร า : :
B U D D Y H O M E " คู่ หู    คู่ บ้ า น ส ว ย "
 
     ข่ า ว เ ศ ร ษ ฐ กิ จ / ว ง ก า ร ก่ อ ส ร้ า ง
 
I ข่าวทั้งหมด I


 18-10-2550 : สยามสแควร์ ซีรีส์ บล็อก T-บล็อก L โมเดลการพัฒนาเพื่ออนาคต

รายงาน

โดย เมตตา ทับทิม


สยามสแควร์ยุคปลายพุทธศักราช 2550 อยู่ในช่วงปรับตัวแบบสเต็ปบายสเต็ป แน่นอนว่าเอกลักษณ์โดดเด่นของการเป็น "ศูนย์การค้าแบบเปิด" หรือโลว์ไรส์บิลดิ้งยังคงเป็น "จุดขาย" ของสยามสแควร์ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เพียงแต่มีความได้เปรียบที่มีพื้นที่กว่า 63 ไร่ แต่โลเกชั่นยังตั้งอยู่ท่ามกลางวงล้อมของ "ห้างติดแอร์" ที่กระจายตัวอยู่รายรอบ

"รศ.ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์" รองอธิการบดีจุฬาฯ กำกับดูแลสำนักงานจัดการทรัพย์สิน คีย์แมนผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนโยบายจัดระเบียบทรัพย์สินที่เป็นที่เช่าของมหา"ลัย เปิดโมเดลการปรับปรุงพื้นที่สยามสแควร์ทั้ง 610 คูหา กับโฉมใหม่ที่เริ่มต้นนับถอยหลังมาตั้งแต่ปี 2548

บล็อก T "ดิจิทัลซิตี้"

1-2 เดือนที่ผ่านมา สยามสแควร์คึกคักเป็นพิเศษกับความเคลื่อนไหวประมูลคัดเลือกผู้บริหารเซ็นเตอร์พอยต์รายใหม่ หลังจากเปิดดำเนินการครบ 10 ปีเต็มในปีนี้ แปลงที่ประมูลมีรหัสเรียกขานว่า "บล็อกตัวที" หรือ Block-T เนื่องจากเป็นแปลงที่มีอาคารพาณิชย์ 13 คูหา ด้านหน้าสถานี บีทีเอส ทอดยาวกินบริเวณพื้นที่เดิมของเซ็นเตอร์ พอยต์ทั้งหมดในลักษณะตัดกันเป็นรูปตัวที

โครงการนี้ ตัดเชือกซองประมูลกันสองรอบ คือ รอบข้อเสนอทางเทคนิคกับข้อเสนอทางการเงิน ข้อมูลด้านลึกระบุว่า โค้งสุดท้ายเฉือนกันที่ "ดีไซน์" ล้วนๆ

ผลการประมูลดังกล่าวเป็นชัยชนะของ "บริษัท ทิพย์พัฒน อาร์เขต จำกัด" ของ "เจริญ สิริวัฒนภักดี" เจ้าของฉายาราชันย์น้ำเมา อาจกล่าวได้ว่าครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่สามารถปักหมุดโครงการลงบนพื้นที่สยามสแควร์

โปรเจ็กต์นำเสนอที่ชนะใจกรรมการตัดสิน มีจุดเน้นพัฒนาให้เป็น "ดิจิทัลซิตี้" ครบเครื่องทั้งภาคธุรกิจไอที ขณะเดียวกันได้ภาพลักษณ์ของโครงการสไตล์โมเดิร์นอีกด้วย

เสี่ยเจริญเป็นเจ้าของห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ถ้าจะทำดิจิทัลซิตี้ ก็น่าจะเป็นโครงการธรรมดาที่ไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน

ดีไซน์คอนเซ็ปต์ของบริษัททิพย์พัฒน อาร์เขต ใช้ชื่อโครงการนำเสนอว่า "Centerpoint & Gateway Siam Square"

สุดยอดดีไซน์ "อาคารรูปตัวหนอน"

เปอร์สเป็กทีฟจากมุมมองยืนอยู่บนสถานี บีทีเอสเข้ามาภาพที่เห็นจะเป็นเวฟ ออกแบบเป็นอาคารทรงฟรีฟอร์ม "อ.บุญสม" เรียกแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าอาคารรูปตัวหนอน ในอนาคตเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จโครงการนี้จะ "สวยจัด" ทีเดียว

ทั้งนี้ทั้งนั้น "ดิจิทัลซิตี้" ไม่ได้ทำให้ชื่อของ เซ็นเตอร์พอยต์ต้องลบเลือนหายไปแต่อย่างใด ลานน้ำพุที่เป็นอีเวนต์สเปซก็ยังคงมีอยู่ แต่จะมีการปรุงโฉมใหม่ให้ไฉไลกว่าเดิม ตัวอาคารจะสูง 4 ชั้นเท่าเดิม ใช้วัสดุ 3 ชนิดหลักๆ คือ อะลูมิเนียม กระจก และผ้าใบ (คล้ายสุวรรณภูมิ)

ส่วนที่เป็นกระจกออกแแบบให้เป็น roof

garden มีการปลูกต้นไม้ลงดินจริงๆข้างในอาคาร แดดส่องเข้ามาได้ แต่เทคโนโลยีจะทำให้ข้างนอกมีแดดข้างในไม่ร้อนโดยใช้กระจกสองชั้น

โดยสรุป เมื่อมองจากสถานีบีทีเอสเข้ามา โครงการ Centerpoint & Gateway Siam Square "จะเห็นแต่ความเขียว" ของต้นไม้

มีพื้นที่จัดแสดงเทคโนโลยีก้าวหน้าเกี่ยวกับไอทีประมาณ 900 ตารางเมตร ทอดยาวตามแนวตัวอาคาร สะดวกสบายด้วยการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่โครงการกับสถานีบีทีเอส

มูลค่าการลงทุน คำนวณคร่าวๆ ตกตารางเมตรละ 45,000 บาท หรือ 269 ล้านบาท การลงทุนมีวงเงินไม่มากมายอะไรเพราะมีพื้นที่พัฒนาเพียง 1 ไร่เศษ มีพื้นที่เช่าประมาณ 4,640 ตารางเมตร โดยมีอายุสัมปทาน 15 ปี

นับถอยหลังไปถึงวันตัดริบบิ้นเปิดโครงการในช่วงก่อนปีใหม่ 2552 เซ็นเตอร์พอยต์โฉมใหม่ไม่เพียงแต่จะเป็นแม็กเนตให้กับสยามสแควร์ แต่ยังถูกออกแบบให้เป็น "แลนด์มาร์ก" แห่งใหม่อีกด้วย

บล็อก L "ทาวเวอร์ 22 ชั้น"

บล็อก L จะเป็นโครงการพัฒนาที่ดินในลักษณะไฮไรส์บิลดิ้ง หนึ่งในสองสามแห่งในสยามสแควร์ เป็นโครงการใหม่หมาดของสำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ ปัจจุบันสถานะอยู่ระหว่างเปิดประมูลสรรหาผู้รับเหมา

จุดเด่นคือจะเป็นที่จอดรถ 800 คัน ที่ตั้งโครงการอยู่บริเวณลานจอดรถที่ 4 ตรงข้ามโรงแรมโนโวเทลสยาม โดยมี "แปลนอาคิเทค" เป็นสถาปนิกโครงการ

โครงการพัฒนาที่ดินแปลงนี้ ใช้พื้นที่อาคารพาณิชย์เดิม 45 คูหา รูปร่างจะเป็นตัว L ออกแบบก่อสร้าง 10 ชั้นแรกเป็นอาคารจอดรถ มูลค่าการลงทุนประมาณ 800 ล้านบาท (จุฬาฯลงทุนเอง) และอีก 12 ชั้นสำหรับเป็นโรงแรมระดับ 3 ดาว มูลค่าการลงทุน 1,800 ล้านบาท จะใช้วิธีเปิดประมูลหาผู้ลงทุนต่อไป

"โครงการนี้จะรองรับอาคารจอดรถและรองรับสาธารณูปโภคทั้งหมด อาคารหลังนี้ จะรวมทั้งจุดกำเนิดไฟ ระบบไฟฟ้า ระบบบำบัดน้ำเสีย ต่อไประบบทุกอย่างในสยามสแควร์จะ มารวมกันที่ตึกใหม่นี้ทั้งหมด" คำอธิบายของ อ.บุญสม

ฟังก์ชันพื้นที่ใช้สอย นอกจากจอดรถ 800 คันแล้ว จำนวน 3-4 ชั้นจะมีกลุ่มโรงเรียนกวดวิชา ผสมผสานกับร้านค้าปลีก ในอนาคตรถยนต์ที่เข้าทางฝั่งถนนอังรีดูนังต์ไม่ต้องวนเข้าพื้นที่ภายใน แต่สามารถขับขึ้นไปใช้บริการอาคารจอดรถได้เลย

อาคารจอดรถหลังนี้ จะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญของแผนปรับปรุงสยามสแควร์ที่เป็นภาพใหญ่ ด้วยการทยอยปิดถนนบางสายทำเป็นถนนคนเดินให้มากขึ้น โดยจุฬาฯ "มอง" สยามสแควร์ภายใต้คอนเซ็ปต์ Pedestrian Priority

หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือหลักการที่บอกว่า "ให้คนเดินเท้าสำคัญกว่ารถ" นั่นเอง


ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ  18-10-2550 
 

 
 
     Buddy _ L i n k S . . .
 
 
ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง 1
ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง 2
ร้อยพัน ปัญหาในงานก่อสร้าง 3
ร้อยพัน ปัญหาในงานก่อสร้าง 4 ฉบับหมอบ้าน
กฎหมายคลายเส้น
กฎหมาย อ่านง่าย
กฏหมายคลายเส้น บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด
 
 
 
-----[FreeSPlanS.com]-----ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์-----
ศูนย์รวมแบบบ้านมากกว่า 100 แบบ
Tips-Technic การแต่งบ้าน
และอื่นๆอีกมากมาย
 
แลกลิงค์แบนเนอร์ขนาด 88x31 ดู Source Code ข้างล่างครับ
 
<a href="http://www.buddy-home.com" target="_blank"> <img src="http://www.buddy-home.com/image/bannerBuddy-home.gif" border="0" width="88" height="31" alt="www.buddy-home.com คู่ หู คู่ บ้ า น ส ว ย "></a>

www.buddy-home.com  คู่ หู  คู่ บ้ า น ส ว ย

ช่วยเมล์กลับมาแจ้งที่ webmaster@buddy-home.com
 
 
 
 
                 
: : ก ลั บ ห น้ า แ ร ก : :   : : บ ริ ก า ร ข อ ง เ ร า  : :   : : แ บ บ ม า ต ร ฐ า น : :   : : ล ง น า ม ส มุ ด เ ยี่ ย ม : :   : : ติ ด ต่ อ เ ร า : :
                 
ขั้นตอนการเริ่มต้นมีบ้าน
  ความรู้...การประหยัดพลังงาน
ความรู้...งานระบบของบ้าน
  ความรู้...การตกแต่งภายใน
  ความรู้...การจัดสวน
  ออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน
  การออกแบบห้องต่างๆภายในบ้าน
  ประเภทของชุดครัว
  100 เคล็คลับคู่บ้าน
  Download สัญญาสำเร็จรูป
  Download แบบฟอร์มอนุญาต
   
   : : g o t o To p : :