Last Update 29 December, 2005         
 
     
s i n c e

1 5 J u n 2 0 0 2
 
                 
: : ก ลั บ ห น้ า แ ร ก : :   : : บ ริ ก า ร ข อ ง เ ร า  : :   : : แ บ บ ม า ต ร ฐ า น : :   : : ล ง น า ม ส มุ ด เ ยี่ ย ม : :   : : ติ ด ต่ อ เ ร า : :
B U D D Y H O M E " คู่ หู    คู่ บ้ า น ส ว ย "
 
     ข่ า ว เ ศ ร ษ ฐ กิ จ / ว ง ก า ร ก่ อ ส ร้ า ง
 
I ข่าวทั้งหมด I


 17-05-2550 : เอไอทีเตือนภัย "แฟลตดินแดง" "ทุบทิ้ง-ซ่อมแซม" อย่างไหนคุ้ม ?

การฟื้นฟูโครงการเคหะชุมชนแฟลตดินแดง ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เงียบหายไปพักใหญ่ หลังมีการเปิดแผนการฟื้นฟูและพัฒนาโดยจะเนรมิตพื้นที่ใจกลางเมืองผืนใหญ่ผืนนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่สมบูรณ์แบบ มีทั้งส่วนของที่อยู่อาศัยและพื้นที่เพื่อการพาณิชย์ แต่ถูกคัดค้านอย่างหนักจากผู้อยู่อาศัยในโครงการดังกล่าว

ล่าสุด ภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้าง สำนักวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ได้นำเสนอผลการศึกษาโครงการสำรวจความเสียหายและประเมินกำลังองค์อาคารของโครงสร้างอาคาร 1-8 และ 21-32 อาคารในโครงการเคหะชุมชน 1 (ดินแดง) ที่ กคช.มอบหมายให้ศึกษาภายใต้โจทย์ที่ว่า "จะซ่อมแซมอย่างไร ?" เป้าหมายก็เพื่อแก้ไขปัญหาและลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับอาคารบางส่วนที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 30-40 ปี

ทันทีที่ทราบข้อมูลการสำรวจความเสียหายของโครงการแฟลตดินแดง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา บอกได้แต่เพียงว่า "หวาดเสียว" และ "สุ่มเสี่ยง" ที่จะเกิดโศกนาฏกรรมกลางกรุงเทพฯอย่างยิ่ง

"เอไอที" รายงานว่า ทีมสำรวจได้แบ่งการสำรวจออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาคาร 1-8 และกลุ่มอาคาร 21-32 ซึ่งเป็นกลุ่มอาคารที่ก่อสร้างและใช้งานมาแล้วร่วม 40 ปี ขณะที่อาคารที่เหลืออีก 30 อาคาร ซึ่งมีอายุการใช้งานไล่เลี่ยกันตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ก็อยู่ในโปรเซสของการเข้าไปสำรวจที่จะดำเนินการต่อไปตามแผนที่วางไว้

พิชัย นิมิตยงสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาโครงสร้าง สำนักวิศวกรรมโยธา เอไอที บอกว่า จากการศึกษาโดยการสำรวจด้วยการตรวจพินิจ และทดสอบสภาพของอาคารปัจจุบัน เพื่อหาสาเหตุหลักของการเสื่อมสภาพ และนำมาสู่การเสนอวิธีซ่อมแซม พบว่าตัวอาคารที่เข้าสำรวจทั้ง 20 อาคาร มีความเสียหายเกิดขึ้นจนเกรงว่าจะมีปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย


โดยทุกอาคารมีสภาพความเสียหายใกล้เคียงกัน สาเหตุมาจากตัวเหล็กเสริมเป็นสนิมมาก ซึ่งเกิดจากความชื้นที่เข้าไปกัดเซาะจนทำให้เหล็กเสริมแรงด้านในเกิดการบวมถึง 6 เท่าของปริมาตรเดิม ผลที่ตามมาก็คือ เมื่อเหล็กด้านในบวมขึ้น ก็จะทำให้วัสดุห่อหุ้มซึ่งเป็นคอนกรีตเกิดการแตกกร่อน

"หากจะให้เปรียบกับร่างกายคนก็เหมือนกับคนที่เป็นมะเร็งระยะที่ 3-4 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงแต่รักษาไปตามอาการเท่านั้น"

"เอไอที" สรุปผลของการเสื่อมสภาพโดยรวมไว้ 4 ประเด็น คือ 1.อัตราความเสียหายตั้งแต่ปี 2546-ปัจจุบันมีการเสื่อมสภาพเร็วมาก โดยเฉพาะการเกิดสนิมมีอัตราการเพิ่มเป็นทวีคูณ เพราะคอนกรีตเสื่อมสภาพเร็วมาก 2.หากเกิดแผ่นดินไหวใน กทม.ก็จะเสี่ยงต่อการวิบัติหรืออาคารถล่มลงมาได้ ซึ่งไม่ควรปล่อยให้เกิดปัญหาร้ายแรงขึ้น เนื่องจากตัวอาคารใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างแบบเดิม และปัจจุบันอัตราการรับน้ำหนักอยู่ในจุดที่ไม่ได้มาตรฐาน

3.สามารถซ่อมแซมได้โดยอาศัยเทคโนโลยีเฟอร์โรซีเมนต์ แต่เป็นการซ่อมแซมได้เฉพาะจุดเท่านั้น เพราะยังมีการเสื่อมสภาพในจุดอื่นๆ ต่อไปเรื่อยๆ และ 4.อาคารเสื่อมสภาพตลอดเวลา ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยแม้จะซ่อมแซมแล้วก็ตาม เพราะคอนกรีตหมดอายุ เหล็กเสริมก็เกิดสนิม รอวันพังลงมาเท่านั้น

"หากพิจารณาตามกฎหมายตรวจสอบอาคาร ผู้อยู่อาศัยในแฟลตดินแดงจะต้องหาที่อยู่ใหม่ทันที เพราะอันตรายมาก แม้แต่วิศวกรยังไม่กล้ารับปากเลยว่าอาคารเหล่านี้จะถล่มขึ้นมาเมื่อใด" ไกร ตั้งสง่า กรรมการบริหาร (บอร์ด) กคช. และ อุปนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วศท.) กล่าวแสดงความเห็น พร้อมกับขยายความว่า

หากพิจารณาจาก 3 องค์ประกอบหลัก คือ เสา คาน และพื้น พบว่าอยู่ในสภาพเสียหายอย่างน่ากลัว เพราะเกิดการแตกร้าวทั้งแนวตั้งและขนาน ขณะที่ผู้อยู่อาศัยเองได้ใช้งานอาคารผิดประเภท โดยใช้สำหรับเป็นที่เก็บสินค้า เช่น กระสอบข้าวสาร ซึ่งมีน้ำหนักมากเกินกว่าความสามารถที่รับน้ำหนักได้เพียง 150 ก.ก./ตร.ม.เท่านั้น

นอกจากนี้การต่อเติมดัดแปลงอาคารเพื่อใช้งานอย่างผิดๆ ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้เสี่ยงต่อการพังหรือถล่ม ซึ่งจากการคำนวณอัตราทางวิศว กรรมเหลือเพียง 1.05-1.25 เท่าเท่านั้น จากปกติอัตราความปลอดภัยต้องมีมากกว่า 2 เท่าขึ้นไป

"ไกร" ได้เสนอแนะแนวทางเร่งด่วนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ คือ 1.ติดประกาศให้ผู้อยู่อาศัยได้รับทราบถึงอันตรายว่าเป็นพื้นที่อันตรายห้ามเข้าใกล้ 2.หากมีการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ต้องให้สิทธิ์ผู้อยู่เดิมกลับเข้ามาใหม่

3.บอกเหตุผลถึงความจำเป็นที่ต้องทำ เพราะเป็นเรื่องความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และ 4.ต้องประชาสัมพันธ์ให้ผู้อยู่อาศัยรับรู้

ด้าน กคช.ในฐานะเจ้าของพื้นที่ เตรียมนำเรื่องดังกล่าวเข้าเสนอบอร์ดในวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ เพื่อให้ได้ข้อยุติ แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร ซึ่งขณะนี้ กคช.ได้อนุมัติงบประมาณ 20 ล้านบาท เพื่อใช้ในการซ่อมแซมโครงการดังกล่าวแล้ว

แต่ก็เป็นเพียงแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น เพราะลึกๆ แล้วแนวทางการแก้ไขที่ดีที่สุดคือ การก่อสร้างใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากๆ เพราะอย่าลืมว่ามีผู้อยู่อาศัยเดิมบางกลุ่มที่ไม่ต้องการแบกรับค่าเช่าเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่เสียค่าเช่าเฉลี่ย 400 บาท/เดือนเท่านั้น

ในประเด็นนี้ "สุรพล จันทร์น้อย" รองผู้ว่าการ กคช. ยอมรับว่า ขณะนี้มีผู้เช่าเดิมบางกลุ่มเห็นด้วยที่จะให้ กคช.เดินหน้าพัฒนาแฟลตดินแดง ตามแผนพัฒนาและฟื้นฟูเมือง และยินยอมที่จะจ่ายค่าเช่าเพิ่มขึ้นตามความเหมาะ เพื่อให้ได้ที่อยู่อาศัยใหม่ที่มีความปลอดภัย แต่มีบางกลุ่มที่ไม่ยอมเพราะไม่อยากแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ทั้งนี้ หากมีการก่อสร้างโครงการใหม่ กคช.ได้เตรียมที่ดินเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในโซนจี บริเวณแยกดินแดง เพื่อพัฒนาเป็นอาคารที่อยู่อาศัย สูงประมาณ 20 ชั้น สำหรับใช้เป็นอาคารรองรับผู้อยู่อาศัยเดิมลอตแรก 1,500-2,000 ครอบครัว

"แผนเดิมคือ กคช.จะแบ่งการพัฒนาเป็นเฟสๆ ทั้งหมด 50 อาคาร หากทำสำเร็จจะเป็นการยกคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยทั้งหมด 9,000 พันครัวเรือน หรือ 30,000 รายให้ดีขึ้น"

หากต้องให้เลือกระหว่างต้อง "ทุบทิ้ง" หรือ "ซ่อมแซม" กคช.และรัฐบาลคงต้องคิดอย่างรอบคอบ เพราะหากเลือกแนวทางแรก แม้จะ "คุ้ม" เพราะได้ของใหม่และค่าเช่าเพิ่ม แต่อย่าลืมภาระค่าเช่าที่ประชาชนระดับรากหญ้าที่อยู่อาศัยมากว่า 40 ปีจะต้องแบกรับเพิ่มขึ้น

หากเลือกแนวทางที่ 2 คิดว่าเป็นการแก้ไขที่ไม่ตรงจุดตรงประเด็นนัก เป็นการแก้ปัญหาเพียงบางจุดเท่านั้น และไม่ได้รับประกันด้วยว่าจะใช้งานต่อไปได้นานเท่าใด เนื่องจากตัวอาคารยังมีการเสื่อมสภาพต่อเนื่อง

สุดท้ายไม่ว่าจะเลือกแนวทางใด ก็ต้องอยู่ในแนวทางของการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชนและภาครัฐ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมและสมานฉันท์เอาไว้แหละดี !



ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ   17-05-2550 
 

 
 
     Buddy _ L i n k S . . .
 
 
ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง 1
ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง 2
ร้อยพัน ปัญหาในงานก่อสร้าง 3
ร้อยพัน ปัญหาในงานก่อสร้าง 4 ฉบับหมอบ้าน
กฎหมายคลายเส้น
กฎหมาย อ่านง่าย
กฏหมายคลายเส้น บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด
 
 
 
-----[FreeSPlanS.com]-----ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์-----
ศูนย์รวมแบบบ้านมากกว่า 100 แบบ
Tips-Technic การแต่งบ้าน
และอื่นๆอีกมากมาย
 
แลกลิงค์แบนเนอร์ขนาด 88x31 ดู Source Code ข้างล่างครับ
 
<a href="http://www.buddy-home.com" target="_blank"> <img src="http://www.buddy-home.com/image/bannerBuddy-home.gif" border="0" width="88" height="31" alt="www.buddy-home.com คู่ หู คู่ บ้ า น ส ว ย "></a>

www.buddy-home.com  คู่ หู  คู่ บ้ า น ส ว ย

ช่วยเมล์กลับมาแจ้งที่ webmaster@buddy-home.com
 
 
 
 
                 
: : ก ลั บ ห น้ า แ ร ก : :   : : บ ริ ก า ร ข อ ง เ ร า  : :   : : แ บ บ ม า ต ร ฐ า น : :   : : ล ง น า ม ส มุ ด เ ยี่ ย ม : :   : : ติ ด ต่ อ เ ร า : :
                 
ขั้นตอนการเริ่มต้นมีบ้าน
  ความรู้...การประหยัดพลังงาน
ความรู้...งานระบบของบ้าน
  ความรู้...การตกแต่งภายใน
  ความรู้...การจัดสวน
  ออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน
  การออกแบบห้องต่างๆภายในบ้าน
  ประเภทของชุดครัว
  100 เคล็คลับคู่บ้าน
  Download สัญญาสำเร็จรูป
  Download แบบฟอร์มอนุญาต
   
   : : g o t o To p : :